We are God's stewards, entrusted by Him with time and opportunities, abilities and possessions, and the blessings of the earth and its resources. We are responsible to Him for their proper use. We acknowledge God's ownership by faithful service to Him and our fellowmen, and by returning tithes and giving offerings for the proclamation of His gospel and the support and growth of His church. Stewardship is a privilege given to us by God for nurture in love and the victory over selfishness and covetousness. The steward rejoices in the blessings that come to others as a result of his faithfulness.—Fundamental Beliefs, 21

เราทั้งหลายเป็นผู้อารักขาทรัพย์สินของพระเจ้า พระองค์ได้ทรงมอบเวลาและโอกาสต่าง ๆ ความสามารถทั้งหลายและทรัพย์สิน และพระพรอื่น ๆ อีกมากมายที่ให้แก่โลกนี้ ตลอดจนทรัพยากรทั้งหมดแก่เรา ทุกคนมีความรับผิดชอบในการใช้สิ่งเหล่านี้อย่างเหมาะสม เราแสดงออกถึงการยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าของ ด้วยการรับใช้พระองค์และรับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และด้วยการถวายทศางค์ (สิบชักหนึ่ง) และการถวายทรัพย์อื่น ๆ แด่พระองค์ เพื่อจะทรงใช้ในการประกาศข่าวประเสริฐของพระองค์ และเพื่อการสนับสนุนคริสตจักรของพระองค์ให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ฉันทภาระคือสิทธิพิเศษที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่เราทั้งหลาย เพื่อเป็นการบำรุงเลี้ยงในความรักและการมีชัยชนะเหนือคามเห็นแก่ตัวและความโลภ ผู้อารักขาชื่นชมยินดีในพระพรอันเป็นผลมาจากความสัตย์ซื่อของเขา ที่เผื่อแผ่ไปสู่ผู้อื่น - หลักข้อเชื่อข้อที่ 21


Chapter 21 ( บทที่ 21 )
Stewardship
ฉันทภาระ

More than anything else living a Christian life means surrender—a giving up of ourselves and an accepting of Christ. As we see how Jesus surrendered and gave Himself up for us, we cry out, "What can I do for You?"

เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดในการดำเนินชีวิตคริสเตียนคือการ ยอมจำนนทุกสิ่งทุกอย่าง คือการถวายชีวิตแด่พระคริสต์และรับเอาพระองค์เข้ามาในชีวิต เมื่อเราได้เห็นการที่พระเยซูได้ทรงยอมสละและประทานพระองค์เองเพื่อเราทั้งหลายแล้ว สิ่งเดียวที่จะตอบสนองต่อพระองค์ได้ก็คือการร้องขึ้นว่า “พระองค์เจ้าข้า ข้าพระองค์สามารถทำอะไรเพื่อพระองค์ได้บ้าง?”

Then, just when we think we have made a full commitment, a full surrender, something happens that demonstrates how shallow our commitment is. As we discover new areas of our lives to turn over to God, our commitment grows. Then, ever so gently, He brings to our attention another area where self needs to surrender. And so life goes on through a series of Christian recommitments that go deeper and deeper into our very selves, our lifestyles, how we act and react.

จากนั้น เมื่อคิดว่าตนเองได้ถวายทุกอย่าง ได้ยอมจำนนมอบทุกอย่างแล้ว จะมีบางสิ่งเกิดขึ้นซึ่งแสดงให้เห็นว่าการอุทิศตัวนั้นกระทำอย่างผิวเผิน เมื่อได้ค้นพบว่ามีส่วนอื่นในชีวิตที่จะต้องถวายคืนแด่พระเจ้า เมื่อนั้น การอุทิศตัวของเราจะเจริญมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้น พระองค์ก็จะค่อย ๆ นำเอาสิ่งหนึ่งเข้ามาในชีวิตของเราทีละเล็กน้อยๆ อย่างช้า ๆ เมื่อพระเจ้าทรงให้เราเห็นว่ายังมีอะไรอีกที่จำเป็นต้องอุทิศแด่พระองค์อีก ดังนั้น ชีวิตจะผ่านเข้าไปสู่ขั้นตอนของการอุทิศถวายซ้ำอีกครั้ง ซึ่งจะหยั่งลึกลงไปยังตัวตนของเรามากขึ้น ทั้งวิถีการดำเนินชีวิต ทั้งการประพฤติและการแสดงออก

When we give all that we are and have to God, to whom it all belongs anyway (1 Cor. 3:21-4:2), He accepts it but then puts us back in charge of it, making us stewards, or caretakers, of everything that we "possess." Then our tendency to live comfortable, selfish lives is broken by our realization that our Lord was naked, imprisoned, and a stranger. And His enduring "Go ye therefore, and teach all nations" makes the church's activities—sharing, teaching, preaching, baptizing—more precious to us. Because of Him we seek to be faithful stewards.

เมื่อเราอุทิศถวายชีวิตทุกส่วนและทุกสิ่งที่มีอยู่แด่พระเจ้า ทุกสิ่งที่มีอยู่ได้เป็นของใคร (1 โครินธ์ 3:21-4:2) พระองค์ทรงรับเอาไป จากนั้นได้มอบคืนมาให้เราดูแล ให้เราเป็นผู้อารักขา เป็นผู้ดูแลทุกสิ่งที่เรา “เป็นเจ้าของ” จากนั้นเราจะมีแนวโน้มใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ชีวิตที่เห็นแก่ตัว ก็จะหมดไปเมื่อตระหนักว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเปลือยกาย ถูกจำคุก และเป็นคนแปลกหน้า และความอดทนของพระองค์ที่บอกให้เรา “ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของ" ทำให้คริสตจักรมุ่งมั่นในกิจกรรมต่าง ๆ ในการแบ่งปัน การสอน การเทศนา การบัพติศมา สิ่งเหล่านี้เป็นิสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเรา เพราะพระองค์เราทั้งหลายจึงเสาะหาการเป็นผู้อารักขาที่สัตย์ซื่อ

What Is Stewardship?

"Do you not know that your body is the temple of the Holy Spirit . . . and you are not your own? For you were bought at a price; therefore glorify God in your body and in your spirit, which are God's" (1 Cor. 6:19, 20).

ฉันทภาระคืออะไร?

"ท่านรู้แล้วไม่ใช่หรือว่า ร่างกายของพวกท่านเป็นวิหารของพระวิญญาณบริสุทธิ์ผู้สถิตในท่าน ผู้ซึ่งพวกท่านได้รับจากพระเจ้า และท่านทั้งหลายไม่ใช่เจ้าของตัวท่านเอง? เพราะว่าพระเจ้าทรงซื้อท่านไว้แล้วด้วยราคาสูง ฉะนั้น จงถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าด้วยร่างกายของพวกท่านเถิด” (1 โครินธ์ 6:19, 20)

At high cost we were purchased, redeemed. We belong to God. But such was mere reclaiming, for He made us; we have belonged to Him from the beginning because "In the beginning God created. . ." (Gen. 1:1). The Scriptures clearly state that "the earth is the Lord's and all its fullness, the world and those who dwell therein" (Ps. 24:1).

เราทั้งหลายได้รับการไถ่ด้วยราคาสูง เราจึงเป็นของพระเจ้า แต่ก็เป็นเพียงการอ้างสิทธิ์เท่านั้น เพราะพระองค์ทรงสร้างเราขึ้นมา ทุกคนจึงเป็นของพระองค์มาตั้งแต่ต้น เพราะ “ในปฐมกาล พระเจ้าทรงเนรมิตสร้าง.....” (ปฐมกาล 1:1) พระคัมภีร์ระบุอย่างชัดเจนว่า “แผ่นดินโลกกับสรรพสิ่งในนั้น เป็นของพระเจ้า ทั้งพิภพกับบรรดาผู้ที่อยู่ในพิภพนั้น” (สดุดี 24:1)

At Creation God shared His possessions with humanity, and He continues to be the true owner of the world, its inhabitants, and its goods (Ps. 24:1). At the cross He reclaimed as His own that which man had surrendered to Satan at the Fall (1 Cor. 6:19-20).

เมื่อครั้งที่ทรงสร้างโลก พระเจ้าได้ทรงแบ่งส่วนทรัพย์สมบัติแก่มนุษย์ จากนั้นพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของโลกนี้ ทุกสิ่งที่อาศัยอยู่ในโลกและสรรพสิ่ง (สดุดี 24:1) หลังจากที่มนุษย์ทำบาปและยอมอยู่ภายใต้อำนาจของซาตาน ที่ไม้กางเขน พระองค์ได้ทรงอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของจากมัน (1 โครินธ์ 6:19-20)

He has now appointed His people to serve as stewards of His possessions. A steward is a person "entrusted with the management of the household or estate of another." Stewardship is "the position, duties, or service of a steward."1

บัดนี้ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้ประชากรของพระองค์ทำหน้าที่รับใช้ในฐานะผู้อารักขาดูแลทรัพย์สมบัติของพระองค์ ผู้อารักขา หมายถึง “บุคคลผู้ได้รับมอบหมายความไว้วางใจให้บริหารจัดการในบ้านเรือนหรือทรัพย์สินของอีกบุคคลหนึ่ง” ผู้อารักขา เป็น “ตำแหน่ง หน้าที่ หรือการรับใช้ในการดูแลเอาใจใส่”1

To the Christian, stewardship means "man's responsibility for, and use of, everything entrusted to him by God—life, physical being, time, talents and abilities, material possessions, opportunities to be of service to others, and his knowledge of truth."2

สำหรับคริสเตียน ฉันทภาระหมายถึง “หน้าที่รับผิดชอบ การนำเอาสิ่งที่พระเจ้า0ได้มอบไว้ไปใช้ ได้แก่ ชีวิต ร่างกาย เวลา ความสามารถพิเศษต่าง ๆ และสติปัญญา ทรัพย์สินต่าง ๆ โอกาสในการรับใช้คนอื่น และความรู้เกี่ยวกับความจริง (เรื่องความรอด) ของเขา”2

Christians serve as managers over God's possessions and view life as a divine opportunity "to learn to be faithful stewards, thereby qualifying for the higher stewardship of eternal things in the future life."3 In its larger dimensions, then, stewardship "'involves the wise and unselfish use of life.'"4

คริสเตียนทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของพระเจ้า และมีมุมมองต่อชีวิตโดยถือว่าเป็นโอกาสดีที่พระเจ้าทรงมอบให้ “เพื่อเรียนรู้การเป็นผู้อารักขาที่สัตย์ซื่อ เพื่อจะมีคุณสมบัติพร้อมในการเป็นผู้อารักขาสิ่งอันเป็นนิรันดร์ในอนาคต”3 โดยภาพในมิติกว้างแล้ว ผู้อารักขาก็คือผู้รู้จัก “การใช้ชีวิตอย่างฉลาดและไม่เห็นแก่ตัว” นั่นเอง4

Ways to Acknowledge God's Ownership

Life can be divided into four basic areas, each a gift from God. He gave us a body, abilities, time, and material possessions. In addition, we must care for the world around us, over which we were given dominion.

วิธียอมรับความเป็นเจ้าของของพระเจ้า

ชีวิตสามารถแบ่งออกเป็นสีด้านง่ายๆ แต่ละด้านล้วนเป็นของประทานมาจากพระเจ้า พระองค์ทรงประทานร่างกาย ความสามารถ เวลา และทรัพย์สิ่งของแก่เรา ยิ่งกว่านั้น เราจะต้องดูแลโลกที่อยู่รอบตัว ดูแลบรรดาสิ่งที่ได้รับมอบหมาย

Stewardship of the Body

God's people are stewards of themselves. We are to love God with all our heart, and with all our soul, and with all our strength, and with all our mind (Luke 10:27). Christians are privileged to develop their physical and mental powers to the best of their ability and opportunities. In so doing they bring honor to God and can prove a greater blessing to their fellow beings. (See chapter 21.)

การเป็นผู้อารักขาร่างกาย

คนของพระเจ้าเป็นผู้อารักขาตัวของเขาเองอยู่แล้ว เรารักพระเจ้าด้วยสุดจิตสุดใจ ด้วยสุดกำลัง สุดความคิดของเรา (ลูกา 10:27) คริสเตียนมีสิทธิพิเศษในการพัฒนาพลังงานร่างกายและสมองของเขาเพื่อจะมีความสามารถและช่องทางต่างๆ การทำอย่างนี้เป็นการนำเกียรติมาสู่พระเจ้า และสามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาเป็นพรแก่เพื่อนมนุษย์อื่นๆ ของเขา (ดูบทที่ 21)

Stewardship of Abilities

Each person has special aptitudes. One may be talented in the musical realm, another in manual trades such as sewing or auto mechanics. Some may make friends easily and mingle well with others, while others may naturally tend toward more solitary pursuits.

การเป็นผู้อารักขาความสามารถต่างๆ

แต่ละคนล้วนมีความสามารถพิเศษ บางคนอาจมีความสามารถด้านดนตรี บางคนมีความสามารถในการเย็บปักถักร้อย หรือซ่อมเครื่องจักร บางคนสามารถสร้างเพื่อนได้ง่ายด้วยการเข้าไปคลุกคลีอยู่กับคนเหล่านั้น ขณะที่คนอื่นอาจเป็นคนที่มีนิสัยชอบอยู่คนเดียว

Every talent can be used to glorify either the one who possesses it or its original Bestower. A person can diligently perfect a talent for God's glory, or for personal selfishness.

ตะลันต์ทุกอย่างสามารถนำมาใช้เพื่อถวายสง่าราศีแก่พระเจ้าได้ ไม่ว่าตะลันต์นั้นจะอยู่กับตัวคนนั้นหรือได้รับมาจากพระเจ้าก็ตาม เขาสามารถนำไปใช้เพื่อถวายสง่าราศีแก่พระองค์ด้วยปัญญา หรือนำไปใช้เพื่อตนเองด้วยความเห็นแก่ตัว

We ought to cultivate the gifts the Holy Spirit gives each of us in order to multiply these gifts (Matt. 25). Good stewards use their gifts liberally in order to bring fuller benefit to their master.

เราต้องรู้จักฝึกฝนของประทานจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อจะทำให้ของประทานเหล่านั้นเพิ่มพูนมากขึ้น (มัทธิว 25) ผู้อารักขาที่ดีใช้ของประทานของเขาโดยไม่หวงไว้ เพื่อผู้เป็นนายได้ประโยชน์อย่างเต็มที่

Stewardship of Time

As faithful stewards, we glorify God by a wise use of time. "Whatever you do, work at it with all your heart, as working for the Lord, not for men, since you know that you will receive an inheritance from the Lord as a reward. It is the Lord Christ you are serving" (Col. 3:23, 24, NIV).

ผู้อารักขาเวลา

ในฐานะผู้อารักขาที่ซื่อสัตย์ เราถวายสง่าราศีแก่พระเจ้าโดยการใช้เวลาด้วยความเฉลียวฉลาด “ไม่ว่าพวกท่านจะทำสิ่งใด ก็จงทำด้วยความเต็มใจเหมือนทำถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เหมือนทำต่อมนุษย์ ท่านทั้งหลายก็รู้ว่า ท่านจะได้รับมรดกจากองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นบำเหน็จ เพราะท่านกำลังรับใช้พระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าอยู่” (โคโลสี 3:23, 24)

The Bible admonishes us not to behave "as fools but as wise, redeeming the time, because the days are evil" (Eph. 5:15, 16). Like Jesus, we must be about our Father's business (Luke 2:49). Because time is God's gift, each moment is precious. It is given to form character for eternal life. Faithful stewardship of our time means using it to get to know our Lord, to help our fellowmen, and to share the gospel.

พระคัมภีร์สั่งสอนเราทั้งหลายไม่ให้ประพฤตตน “เหมือนคนไร้ปัญญา แต่ให้เหมือนคนมีปัญญา 16จงใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าทุกวันนี้เป็นยุคสมัยที่ชั่วร้าย” (เอเฟซัส 5:15, 16) เราจะต้องมุ่งปฏิบัติภารกิจของพระบิดาเหมือนกับที่พระเยซูทรงกระทำ (ลูกา 2:49) เพราะเวลาเป็นของประทานจากพระเจ้า แต่ละวินาทีมีค่า นี่คือสิ่งที่มอบให้มาเพื่อสร้างอุปนิสัยสำหรับชีวิตนิรันดร์ ผู้อารักขาที่สัตย์ซื่อในสมัยของเรา หมายถึงการใช้เวลาในการเรียนรู้จักองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และแบ่งปันข่าวประเสริฐแก่คนทั้งหลาย

When, at Creation, God gave time to us, He reserved the seventh-day Sabbath as holy time for communion with Him. But six days were provided for the human family to engage in useful employment.

พระเจ้าทรงประทานเวลาให้แก่เราตั้งแต่เมื่อพระองค์สร้างโลก พระองค์ทรงเก็บวันสะบาโตวันที่เจ็ดไว้ ให้เป็นวันบริสุทธิ์เพื่อสามัคคีธรรมกับพระองค์ ส่วนอีกหกวันที่เหลือ พระองค์ทรง มอบให้เพื่อมนุษย์จะทำงานตามหน้าที่ซึ่งก่อประโยชน์ของเขา

Stewardship of Material Possessions

God gave our first parents the responsibility of subduing the earth, governing the animal kingdom, and caring for the Garden of Eden (Gen. 1:28; 2:15). All this was theirs not only to enjoy, but to manage.

การเป็นผู้อารักขาทรัพย์สมบัติ

พระเจ้าทรงประทานหน้าที่รับผิดชอบให้แก่บิดามารดาคู่แรกของเรา ในการดูแลโลก ปกครองสัตว์ทั้งหลาย และดูแลสวนเอเดน (ปฐมกาล 1:28; 2:15) ทั้งหมดนี้ไม่เพียงเพื่อให้เขาได้ชื่นชมยินดีกับสิ่งเหล่านั้น แต่ให้เขาจัดการดูแลด้วย

One restriction was placed on them. They were not to eat of the tree of the knowledge of good and evil. This tree provided a constant reminder that God was the owner and final authority over the earth. Respecting this restriction, the first pair demonstrated their faith in and loyalty to Him.

มีข้อกำหนดที่เคร่งครัดหนึ่งข้อที่เขาได้รับ คือห้ามไม่ให้กินผลไม้จากต้นรู้ความดีและความชั่ว ต้นไม้ต้นนี้มีไว้เพื่อเตือนเขาเสมอว่า พระเจ้าทรงเป็นเจ้าของและมีอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือโลกนี้แต่เพียงผู้เดียว การให้เกียรติแก่ข้อคำหนดนี้ของชายหญิงคู่แรก แสดงให้เห็นถึงความเชื่อและความภักดีที่มีต่อพระองค์

After the Fall, God could no longer test through the tree of knowledge. But humanity still needed a constant reminder that God is the source of every good and perfect gift (James 1:17) and that it is He who provides us with the power to get wealth (Deut. 8:18). To remind us that He is the source of every blessing, God instituted a system of tithes and offerings.

หลังจากการหลงทำบาป พระเจ้าไม่ต้องใช้ต้นไม้รู้ความดีและความชั่วเพื่อทดสอบเขาอีกต่อไป แต่มนุษย์ยังจำเป็นต้องได้รับการเตือนว่า พระเจ้าทรงเป็นแหล่งที่มาของ ของประทานที่ดีและสมบูรณ์ (ยากอบ 1:17) และให้รู้ว่าพระองค์คือผู้จัดเตรียมทุกสิ่งไว้เพื่อเราจะได้เป็นผู้มั่งคั่ง (เฉลยธรรมบัญญัติ 8:18) เพื่อเตือนเราทั้งหลายได้สำนึกว่า พระองค์คือแหล่งที่มาของพระพร พระเจ้าจึงทรงสถาปนาระบบการถวายทศางค์ (หนึ่งชักสิบ) และการถวายต่าง ๆ ขึ้นมา

This system eventually provided the financial means for supporting the priesthood of the Israelite temple. Seventh-day Adventists have adoped the Levitical model as a sound, Biblical method for financing a worldwide outreach of the gospel. God has ordained that sharing the good news is to be dependent on the efforts and offerings of His people. He calls them to become unselfish colaborers with Him by giving tithes and offerings to Him.

ในที่สุดระบบนี้ได้จัดเตรียมทรัพย์สินเงินทอง เพื่อสนับสนุนภารกิจของปุโรหิตของอิสราเอลผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพระวิหาร คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสได้รับเอาหลักการถวายทศางค์ในพระธรรมเลวีนิติมาเป็นตัวอย่าง โดยถือว่าเป็นวีธีตามหลักการของพระคัมภีร์ ดีและเหมาะสมเพื่อสนับสนุนด้านการเงินในการประกาศข่าวประเสริฐไปทั่วโลก พระเจ้าทรงเจิมตั้งความมุ่งมั่นในการแบ่งปันข่าวดี ให้ขึ้นอยู่กับบรรดาประชากรของพระองค์ ทรงเรียกให้เขาเสียสละ ร่วมรับใช้กับพระองค์ ด้วยการถวายทศางค์และถวายทรัพย์อื่นๆ แด่พระองค์

1. Tithes

As one seventh of our time (the Sabbath) belongs to God, so does one tenth of all material things we acquire. Scripture tells us that the tithe is "holy to the Lord," symbolizing God's ownership of everything (Lev. 27:30, 32). It is to be returned to Him as His own.

1. ทศางค์ (สิบชักหนึ่ง)

เวลาหนึ่งในเจ็ดของเรา (วันสะบาโต) เป็นของพระเจ้าฉันใด หนึ่งในสิบของทรัพย์สินที่เราหามาได้ก็เป็นของพระเจ้าฉันนั้น พระคัมภีร์บอกไว้ชัดเจนว่าทศางค์ “เป็นของถวายที่บริ‍สุทธิ์แด่พระยาห์‍เวห์” เป็นสัญลักษณ์ว่าพระเจ้าทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่ง (เลวีนิติ 27:30, 32) จะต้องคืนให้แก่พระองค์ เพราะเป็นของพระเจ้า

The tithing system is beautiful in its simplicity. Its equity is revealed in its proportional claim on the rich and on the poor. In proportion as God has given us the use of His property, so we are to return to Him a tithe.

ระบบการถวายทศางค์เป็นสิ่งสวยงามและเรียบง่าย มีหลักการที่ยุติธรรม เผยให้เห็นจากการให้ทั้งคนร่ำรวยและยากจนถวายคืนในสัดส่วนเท่ากัน พระเจ้าได้ประทานทรัพย์สมบัติแก่เรา ดังนั้น เราจึงมีหน้าที่ถวายสิบชักหนึ่งคืนให้แก่พระองค์

When God calls for the tithe (Mal. 3:10), He makes no appeal to gratitude or generosity. Although gratitude should be a part of all our expressions to God, we tithe because God has commanded it. The tithe belongs to the Lord, and He requests that we return it to Him.

เมื่อพระเจ้าทรงเรียกร้องให้ถวายทศางค์ (มาลาคี 3:10) พระองค์ไม้ได้เรียกร้องให้ถวายคืนด้วยความขอบพระคุณหรือด้วยความมีใจถวาย ถึงแม้ว่าความสำนึกในพระคุณเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงออกของเราแก่พระเจ้าก็ตาม แต่เราทั้งหลายถวายทศางค์เพราะพระองค์ทรงตรัสสั่งเช่นนั้น ทศางค์หรือสิบลด เป็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า และพระองค์กำหนดให้เราถวายคืนแก่พระองค์

a. Examples of Tithing

Tithing is an accepted practice throughout Scripture. Abraham gave Melchizedek, the priest of God Most High, "a tithe of all" (Gen. 14:20). By doing so, he acknowledged Melchizedek's divine priesthood and showed that he was well acquainted with this sacred institution. This casual reference to tithing indicates that it was already an established custom at that early date.

ก. ตัวอย่างการถวายทศางค์

การถวายสิบชักหนึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับโดยตลอดของพระคัมภีร์ อับราฮัมมอบ “หนึ่งในสิบจากข้าวของทั้งหมด” ให้แก่เมลคีเซเดค ปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด (ปฐมกาล 14:20) การกระทำเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าเขายอมรับว่าเมลคีเซเดคเป็นปุโรหิตของพระเจ้า และแสดงให้เห็นว่าเขาเข้าใจธรรมเนียมปฏิบัตินี้เป็นอย่างดี การถวายทศางค์เป็นปกตินี้แสดงให้เห็นว่า เป็นวิถีปฏิบัติที่ทำเป็นประจำในสมัยนั้นนานมาแล้ว

Evidently Jacob also understood the tithing requirement. As an exile and fugitive, he vowed to the Lord, "'Of all that You give me I will surely give a tenth to You'" (Gen. 28:22). And after the Exodus, when Israel was established as a nation, God reaffirmed the law of tithing as a divine institution on which Israel's prosperity depended (Lev. 27:30-32; Num. 18:24, 26, 28; Deut. 12:6, 11, 17).

ยาโคบเองก็เข้าใจเรื่องการถวายทศางค์อย่างชัดเจน ขณะที่เขาหนีภัยนั้น ได้กล่าวสาบานกับองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า “ทุกสิ่งที่พระองค์ประ‍ทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะถวายหนึ่งในสิบแด่พระองค์" (ปฐมกาล 28:22) และหลังจากการอพยพออกมา คนอิสราเอลได้ก่อตั้งชาติขึ้นมา พระเจ้าทรงย้ำกฎเกณฑ์ของการถวายทศางค์ไว้ ด้วยการจัดตั้งการถวาย ซึ่งความมั่งคั่งของชาติขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ในการถวายนี้ (เลวีนิติ 27:30-32 กันดารวิถี 18:24, 26, 28 เฉลยธรรมบัญญัติ 12:6, 11, 17)

Far from abrogating this institution, the New Testament assumes its validity. Jesus approved of tithing and condemned those who violate its spirit (Matt. 23:23). While the ceremonial laws regulating the sacrificial offerings symbolizing Christ's atoning sacrifice ended at His death, the tithing law did not.

พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ไม่ได้ละทิ้งการปฏิบัตินี้ แต่ได้นำมาสอนและปฏิบัติ พระเยซูทรงรับการถวายทศางค์และประณามผู้ที่ละเมิด (มัทธิว 23:23) ขณะที่บัญญัติเกี่ยวกับการถวายบูชาต่าง ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชี้ไปที่การสละพระชนม์เพื่อไถ่บาปได้สิ้นสุดลงกับความตายของพระองค์ แต่การถวายทศางค์ไม่ได้ยกเลิกแต่อย่างใด

Because Abraham is the father of all believers, he is the model for tithe paying for Christians. As Abraham paid tithe to Melchizedek, the priest of the Most High God, so New Testament believers give tithe to Christ, our High Priest according to the order of Melchizedek (Heb. 5:9, 10; 7:1-22).5

เพราะอับราฮัมเป็นบิดาของบรรดาผู้เชื่อทั้งหลาย เขาเป็นตัวอย่างของการถวายสิบชักหนึ่งของคริสเตียนทุกคน ขณะที่อับราฮัมมอบทศางค์ให้แก่เมลคีเซเด ปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด บรรดาผู้เชื่อในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ก็ถวายทศางค์ของเขาแก่พระคริสต์ ผู้ทรงเป็นมหาปุโรหิตของเรา ตามแบบของเมลคีเซเดค (ฮีบรู 5:9, 10; 7:1-22)5

a. Use of tithes

Tithes are sacred and are to be used for sacred purposes only. The Lord commanded, "'A tithe of everything from the land, whether grain from the soil or fruit from the trees, belongs to the Lord; it is holy to the Lord. . . . The entire tithe of the herd and flock . . . will be holy to the Lord'" (Lev. 27:30-32, NIV). "'Bring all the tithes into the storehouse, '" He said, "'that there may be food in My house'" (Mal 3:10).

ก. การนำทศางค์ไปใช้

ทศางค์เป็นสิ่งบริสุทธิ์ และนำไปใช้เพื่อเป้าหมายอันบริสุทธิ์เท่านั้น พระเจ้าทรงตรัสสั่งว่า "ทศางค์[ คือ สิบชักหนึ่ง ] ทั้งสิ้นที่ได้จากแผ่นดินเป็นพืชที่ได้จากแผ่นดินก็ดี หรือผลจากต้นไม้ก็ดี เป็นของพระยาห์‍เวห์ เป็นของถวายที่บริ‍สุทธิ์แด่พระยาห์‍เวห์ ถ้าคนใดประ‍สงค์จะไถ่ทศางค์ส่วนใดๆ ของเขา เขาต้องเพิ่มอีกหนึ่งในห้าของทศางค์นั้น และทศางค์ที่มาจากฝูงโค หรือฝูงแพะแกะ คือสัตว์หนึ่งในสิบตัวที่ถูกนับด้วยไม้เท้าของผู้เลี้ยง เป็นสัตว์บริ‍สุทธิ์แด่พระยาห์‍เวห์” (เลวีนิติ 27:30-32) "พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า ‘จงนำทศางค์เต็มขนาดมาไว้ในคลังเพื่อว่าจะมีอาหารในนิเวศของเรา จงลองดูเราในเรื่องนี้ดูทีหรือว่า เราจะเปิดหน้าต่างในฟ้าสวรรค์ให้เจ้า และเทพรอย่างล้นไหลมาให้เจ้าหรือไม่” (มาลาคี 3:10)

In Israel the tithe was used exclusively for the Levites, who, having received no tribal allotment, were to use all their time in fostering Israel's worship, ministering at the sanctuary, and instructing the people in the law of the Lord (Num. 18:21, 24).

ในหมู่คนอิสราเอลนั้น ทศางค์มีข้อกำหนดใช้เพื่อคนเผ่าเลวีเท่านั้น คนเหล่านี้ไม่ได้รับแบ่งที่ดินเหมือนเผ่าอื่น พวกเขามีหน้าที่ใช้เวลาทั้งหมดเพื่อส่งเสริมการนมัสการของประชาชนอิสราเอล รับใช้ในสถานศักดิ์สิทธิ์ และสอนพระบัญญัติของพระเจ้าให้แก่ประชาชน (กันดารวิถี 18:21, 24)

After the Crucifixion, when the divinely directed role of the Levitical priesthood ended, tithes were still to be used to support the ministry of God's church. Paul illustrated the principle underlying this by drawing a parallel between the Levitical service and the newly established gospel ministry. He stated, "If we have sown spiritual seed among you, is it too much if we reap a material harvest from you? If others have this right of support from you, shouldn't we have it all the more? . . .

หลังจากการถูกตรึงบนไม้กางเขน บทบาทหน้าที่โดยตรงที่พระเจ้าทรงกำหนดให้คนเลวีสิ้นสุดลง ทศางค์ยังคงใช้เพื่อสนับสนุนพันธกิจของคริสตจักรของพระเจ้า เปาโลได้สาธิตให้เห็นถึงหลักการนี้ด้วยการเน้นให้เห็นการเปรียบเทียบระหว่างการรับใช้ของคนเผ่าเลวีและพันธกิจข่าวประเสริฐที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ เมื่อเขาระบุไว้ว่า “ถ้าเราหว่านปัจจัยฝ่ายจิตวิญญาณให้แก่พวกท่าน แล้วจะมากไปหรือที่เราจะเกี่ยวปัจจัยฝ่ายกาย[ ภาษากรีกแปลตรงตัวว่า ฝ่ายเนื้อหนัง ] จากท่าน ถ้าคนอื่นมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์จากท่านทั้งหลาย เราก็มีสิทธิ์ยิ่งกว่านั้นอีกไม่ใช่หรือ?....

Don't you know that those who work in the temple get their food from the temple, and those who serve at the altar share in what is offered on the altar? In the same way the Lord has commanded that those who preach the gospel should receive their living from the gospel" (1 Cor. 9:11-14, NIV). Church members, then, willingly bring their tithes to the "storehouse, that there may be food in My house" (Mal. 3:10)—in other words, so that there are enough funds in God's church to provide a living for its ministry and to carry forward the outreach of the gospel.6,7

ท่านรู้แล้วไม่ใช่หรือว่าพวกที่ทำงานต่างๆของพระวิหารก็กินอาหารของพระวิหาร และพวกรับใช้ที่แท่นบูชาก็รับส่วนแบ่งจากเครื่องบูชานั้น ทำนองเดียวกัน องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสั่งไว้ว่า คนที่ประกาศข่าวประเสริฐควรได้รับการเลี้ยงชีพด้วยข่าวประเสริฐ” (1 โครินธ์ 9:11-14)เมื่อเป็นดังนี้ สมาชิกของคริสตจักรจึงยินดีนำเอาสิบชักหนึ่งของเขามา “ไว้ในคลัง*เพื่อว่าจะมีอาหารในนิเวศของเรา” (มาลาคี 3:10) หรืออีกนัยหนึ่ง เพื่อว่าจะมีเงินมากพอสำหรับคริสตจักรของพระเจ้านำไปใช้เพื่อพันธกิจ และนำข่าวประเสริฐไปประกาศแก่คนอีกมามาย6, 7

2. Offerings

Grateful Christians cannot limit their contributions to the church to tithe. In Israel the tabernacle, and later the Temple, were built from "free will offerings"—offerings given from willing hearts (Ex. 36:2-7; cf. 1 Chron. 29:14). And special offerings covered the maintenance expenses of these places of worship (Ex. 30:12-16; 2 Kings 12:4, 5; 2 Chron. 24:4-13; Neh. 10:32, 33).

1. การถวายทรัพย์

คริสเตียนผู้สำนึกในพระคุณจะไม่จำกัดอยู่เพียงถวายทศางค์แก่คริสตจักรเท่านั้น ในอิสราเอลพลับพลาซึ่งต่อมาคือพระวิหาร สร้างขึ้นมาจาก “การถวายด้วยใจยินดี” ของถวายซึ่งมาจากใจของผู้ถวาย (อพยพ 36:2-7; 1 พงศาวดาร 29:14) และการถวายทรัพย์พิเศษนี้รวมไปถึงการถวายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสถานที่นมัสการเหล่านี้ด้วย (อพยพ 30:12-16; 2 พงศ์กษัตริย์ 12:4, 5; 2 พงศาวดาร 24:4-13 เนหะมีย์ 10:32, 33)

The Israelites probably contributed as much as one fourth to one third of their income to religious and charitable purposes. Did such heavy contributions lead to poverty? On the contrary, God promised to bless them in their faithfulness (Mal. 3:10-12).8

บางทีคนอิสราเอลอาจถวายมากถึงหนึ่งในสามหรือหนึ่งในสี่ของรายได้ เพื่อทำนุบำรุงศาสนาและเป้าหมายถวายด้วยใจกว้างขวาง การถวายมากถึงขนาดนี้ทำให้คนถวายยากจนลงใช่หรือไม่? ตรงกันข้าม พระเจ้าทรงสัญญาว่าจะอวยพรแก่ความสัตย์ซื่อของคนเหล่านั้น (มาลาคี 3:10-12)8

Today, too, the Lord calls for liberal giving as He has prospered us. Offerings are needed to build, maintain, and operate churches, and to set up medical missionary work, demonstrating the practical significance of the gospel.

ปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าทรงเรียกให้ถวายแด่พระองค์ด้วยความเสียสละ ตามที่ทรงประทานความมั่งคั่งให้แก่เรา ทรัพย์ถวายเหล่านี้มีความจำเป็นเพื่อการสร้าง ทำนุบำรุงและเปิดคริสตจักรใหม่ และเพื่อการสร้างศูนย์ประกาศด้านการแพทย์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของข่าวประเสริฐที่นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

Should we give as much as did the Israelites, or are their patterns of giving no longer applicable? In the New Testament Christ laid down the principle of true stewardship—that our gifts to God should be in proportion to the light and privileges we have enjoyed. He said, "For everyone to whom much is given, from him much will be required; and to whom much has been committed, of him they will ask the more" (Luke 12:48).

ควรที่เราจะถวายให้มากเท่ากับคนอิสราเอลหรือไม่ หรือรูปแบบการถวายของคนเหล่านั้นไม่สามารถใช้กับสมัยของเราได้? ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ พระคริสต์ทรงได้วางหลักการของผู้อารักขาแท้ไว้ คือ การถวายแก่พระเจ้า ควรเป็นไปตามความสว่างที่ได้รับและสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่เราได้ชื่นชมยินดี พระองค์ตรัสว่า “คนที่ได้รับมาก จะต้องเรียกเอาจากคนนั้นมาก และคนที่ได้รับฝากไว้มาก ก็จะต้องทวงเอาจากคนนั้นมาก” (ลูกา 12:48)

When Christ sent His followers on a mission He said, "Freely you have received, freely give" (Matt. 10:8). This principle applies to the sharing of our financial blessings as well.

เมื่อพระคริสต์ใช้ผู้ติดตามพระองค์ออกไปประกาศ ทรงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายได้รับเปล่าๆก็จงให้เปล่าๆ” (มัทธิว 10:8) หลักการนี้ประยุกต์ใช้ได้กับการแบ่งปันพระพรด้านเงินทองที่ได้รับได้เช่นเดียวกัน

Nowhere does the New Testament repeal or relax this system. As we compare our privileges and blessings with those of the Israelites, we see that in Jesus our share has clearly been greater. Our gratitude will find a corresponding expression through a greater liberality so that the gospel of salvation can be extended to others?9 The more widely the gospel is proclaimed, the greater support it needs.

ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ไม่มีบันทึกใดๆ ที่กล่าวถึงการยกเลิกหรือทำให้กฎเกณฑ์นี้หย่อนลงแต่อย่างใด เมื่อเปรียบเทียบสิทธิพิเศษและพระพรต่าง ๆ ของเรากับของคนอิสราเอล ก็เห็นว่าส่วนของเราที่ได้รับในพระเยซูนั้นยิ่งใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ความสำนึกในพระเมตตาของเราแสดงออกมาโดยการตอบสนองในการถวายด้วยความเสียสละ เพื่อข่าวประเสริฐแห่งความรอดจะขยายออกไปยังคนอื่นอีกมากมายใช่หรือไม่9 ยิ่งข่าวประเสริฐขยายออกไปมากเท่าใด ก็ย่อมต้องการการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น

2. The remaining principle

The principle of stewardship applies to what we retain as well as to what we give. While the tithe is the basic test of our stewardship of our temporal material possessions, 10 the use we make of the remaining principal tests us as well.

1. หลักการที่ยังคงอยู่

หลักการเป็นผู้อารักขาปรับใช้กับสิ่งที่เราเก็บไว้เพื่อตนเองและสิ่งที่เราถวาย เมื่อทศางค์ เป็นสิ่งทดสอบขั้นต้นความเป็นผู้อารักขาในทรัพย์สินที่มีอยู่ในโลกนี้ด้วย10 การใช้ทรัพย์สินเงินทองที่เป็นส่วนของเราก็มีหลักการทดสอบ ว่าเรานำเอาสิ่งเหล่านั้นไปใช้อย่างไรด้วยเหมือนกัน

Our use of material goods reveals how much we love God and our neighbors. Money can be a power for good: in our hands it can provide food for the hungry, drink for the thirsty, and clothing for the naked (Matt. 25:34-40).

การใช้ทรัพย์สิ่งของที่มี เป็นการแสดงให้เห็นว่าเรารักพระเจ้าและเพื่อนบ้านมากน้อยเพียงใด เงินเป็นสิ่งที่มีพลังเพื่อการดี เมื่ออยู่ในมือเรา เพื่อจัดหาอาหารแก่คนหิว จัดหาน้ำเพื่อดับกระหายและเสื้อผ้าสำหรับคนเปลือยกาย (มัทธิว 25:34-40)

From God's perspective money has value mainly as it is used to provide the necessities of life, to bless others, and to support His work.

ในมุมมองของพระเจ้านั้น เงินมีค่าก็เมื่อใช้สำหรับจัดหาสิ่งจำเป็นในชีวิต เพื่อเป็นพรแก่คนอื่น และเพื่อสนับสนุนราชกิจของพระองค์

3. Unfaithfulness in tithe and offerings

Generally speaking, people are ignorant of and neglect the divine principles of stewardship. Even among Christians few acknowledge their role as stewards. God's response to Israel's unfaithfulness gives a clear insight into how He regards this matter. When they used the tithes and offerings for their own benefit,

1. ความไม่ซื่อสัตย์ในการถวายสิบลดและทรัพย์สินเงินทอง

โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์มักไม่รู้และละเลยหลักการของฉันทภาระ แม้แต่คริสเตียนมีเพียงจำนวนน้อยมากที่มียอมรับรู้บทบาทของทราบถึงหลักการของผู้อารักขาของตัวเอง พระเจ้าทรงตอบสนองต่อความไม่เชื่อฟังของคนอิสราเอล ทำให้เห็นชัดเจนว่าพระองค์ทรงมีความรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อเราใช้ทศางค์และเงินถวายอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของตนเอง

He warned that it amounted to theft (Mal. 3:8) and attributed their lack of prosperity to their fiscal unfaithfulness: "You are cursed with a curse, for you have robbed Me, even this whole nation" (Mal. 3:9).

พระเจ้าทรงเตือนว่าการกระทำนี้เหมือนกับการขโมย (มาลาคี 3:8) และทำให้รู้ว่าสาเหตุที่ไม่เจริญรุ่งเรืองก็เพราะความไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเงินทอง “เจ้าทั้งหลายต้องถูกสาปแช่งด้วยคำสาปแช่ง เพราะเจ้าทั้งหลายทั้งชาติฉ้อเรา” (มาลาคี 3:9)

The Lord revealed His patience, love, and mercy by prefacing His warning with an offer of grace: "'Return to Me, and I will return to you'" (Mal. 3:7). He offered them abundant blessing and challenged them to test His faithfulness.

พระเจ้าทรงเปิดเผยให้เห็นความอดทนนาน ความรักและเมตตาของพระองค์โดยการเริ่มต้นด้วยคำเตือน ทรงยื่นความเมตตาให้ “เจ้าจงกลับมาหาเรา และเราจะกลับมาหาเจ้าทั้งหลาย” (มาลาคี 3:7) พระองค์ทรงยื่นข้อเสนอแห่งพระพรอันมากมายและท้าชวนเขาให้มาทดสอบความสัตย์จริงของพระองค์

"'Bring the whole tithe into the storehouse, that there may be food in my house. Test me in this,' says the Lord Almighty, 'and see if I will not throw open the floodgates of heaven and pour out so much blessing that you will not have room enough for it. I will prevent pests from devouring your crops, and the vines in your fields will not cast their fruit,' says the Lord Almighty. 'Then all the nations will call you blessed, for yours will be a delightful land,' says the Lord Almighty" (Mal. 3:10-12, NIV).

“จงนำทศางค์เต็มขนาดมาไว้ในคลัง*เพื่อว่าจะมีอาหารในนิเวศของเรา จงลองดูเราในเรื่องนี้ดูทีหรือว่า เราจะเปิดหน้าต่างในฟ้าสวรรค์ให้เจ้า และเทพรอย่างล้นไหลมาให้เจ้าหรือไม่ เราจะขนาบตัวที่ทำลายให้แก่เจ้า เพื่อว่ามันจะไม่ทำลายผลแห่งพื้นดินของเจ้า และผลองุ่นในไร่นาของเจ้าจะไม่ร่วง พระเจ้าจอมโยธาตรัสดังนี้แหละ พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า แล้วประชาชาติทั้งสิ้นจะเรียกเจ้าว่า ผู้ที่ได้รับพระพร ด้วยว่าเจ้าจะเป็นแผ่นดินที่น่าพึงใจ” (มาลาคี 3:10-12)

Stewardship of the Earth

Modern science has made earth one vast laboratory for research and experimentation. Such research yields many benefits, but the industrial revolution has also resulted in air, water, and land pollution. Technology, in some instances, has manipulated nature rather than managing it wisely.

ฉันทภาระเพื่อการดูแลโลก

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ใช้โลกนี้เป็นเสมือนห้องทดลองและค้นคว้าขนาดใหญ่ การวิจัยค้นคว้านี้ให้ประโยชน์มากมายหลายด้าน แต่ในขณะเดียวกัน การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ส่งผลเสียทำให้เกิดมลพิษในอากาศ น้ำและและประชาชนที่อาศัยอยู่ในโลก ในบางกรณี เทคโนโลยีได้ส่งผลเสียแก่ธรรมชาติมากกว่าการบริหารจัดการอย่างมีปัญญา

We are stewards of this world, and should do everything to maintain life on all levels by keeping the ecological balance intact. In His coming advent, Christ will "destroy those who destroy the earth" (Rev. 11:18). From this perspective Christian stewards are responsible not only for their own possessions but for the world around them.

เราทั้งหลายเป็นผู้อารักขาโลกนี้ จึงควรทำทุกวิถีทางเพื่อผดุงรักษาชีวิตทุกอย่างโดยการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ เมื่อพระคริสต์เสด็จกลับมาครั้งที่สอง พระองค์จะทรง “ทำลายพวกที่ทำลายแผ่นดินโลก” (วิวรณ์ 11:18) จากมุมมองนี้ ผู้อารักขาคริสเตียนจึงมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่ทรัพย์สินที่เขาครอบครองอยู่เท่านั้น แต่รับผิดชอบต่อโลกรอบตัวของเขาด้วย

Christ as Steward

Proper stewardship is selflessness; it is complete self-giving to God and service to humanity. Because of His love for us Christ endured the cruelty of the cross, the even deeper pain of rejection by His own, and abysmal God-forsakenness.

พระคริสต์ในฐานะผู้อารักขา

การทำหน้าที่ฉันทภาระที่ดีคือความไม่เห็นแก่ตัว เป็นการถวายตัวแด่พระเจ้าจนหมดสิ้นเพื่อการรับใช้มวลมนุษย์ พระคริสต์ทรงอดทนต่อความโหดร้ายบนไม้กางเขนก็เพื่อเราทั้งหลาย ความเจ็บปวดยิ่งลึกกว่านั้นเมื่อทรงถูกประชาชนของพระองค์ปฏิเสธไม่ยอมรับ และที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ การถูกแยกออกจากพระเจ้า

In comparison to this gift, what could we ever give? His was a gift, not of what He had—even though He had everything—but of Himself. Such is stewardship. To gaze on that greatest gift is to be drawn out of ourselves, to become like Him. It will move us to become the caring church, caring for both those within the communion of believers and those without. Since Christ died for the world, stewardship, in its broadest sense, is for the world.

เมื่อเปรียบเทียบกับของประทานนี้แล้ว มีอะไรที่เราจะสามารถถวายคืนให้แก่พระองค์ได้บ้าง? สิ่งที่พระองค์มอบให้ไม่ใช่สิ่งที่พระองค์มี แม้ว่าพระองค์ทรงมีทุกสิ่งก็ตาม แต่พระองค์ทรงประทานพระองค์เอง นี่คือฉันทภาระ เมื่อเพ่งดูของประทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก็ยิ่งทำให้ต้องยอมเปิดใจถอยออกมา เพื่อจะเป็นเหมือนกับพระองค์ จะทำให้เรากลายเป็นคริสตจักรที่เอาใจใส่ ใส่ใจทั้งพี่น้องที่อยู่ในชุมชนผู้เชื่อและคนที่อยู่ภายนอก เมื่อพระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อโลกนี้ ความหมายกว้างๆ ของฉันทภาระจึงมีความหมายถึงเพื่อโลกนี้นั่นเอง

The Blessings of Stewardship

God has placed us in the role of stewards for our benefit, not for His.

พระพรของฉันทภาระ

พระเจ้าทรงวางบทบาทหน้าที่ของผู้อารักขาไม่ใช่เพื่อพระองค์ แต่เพื่อประโยชน์ของเรา

A Personal Blessing

One reason God asks us to continually consecrate to Him our entire life—time, abilities, body, and material possessions—is to encourage our own spiritual growth and character development. As we are kept aware of God's ownership of everything and the ceaseless love He bestows on us, our love and gratitude are nurtured.

พระพรแก่ตัวเอง

เหตุผลหนึ่งที่พระเจ้าทรงบอกให้เราถวาย ชีวิต เวลา ความสามารถต่าง ๆ ร่างกายและทรัพย์สินทั้งหมดนี้เพื่อพระองค์ ก็เพื่อสนับสนุนให้เราได้เติบโตขึ้นในด้านจิตวิญญาณและอุปนิสัย ตราบใดที่เราสำนึกเสมอว่าพระเจ้าทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ทรงประทานความรักอันไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อเราทั้งหลาย ดังนั้น ความรักและความสำนึกในคุณความดีนี้จึงได้รับการบำรุงรักษาไว้ตลอดไป

Faithful stewardship also assists us in gaining victory over covetousness and selfishness. Covetousness, one of man's greatest enemies, is condemned in the Decalogue. Jesus also warned of it: "'Take heed and beware of covetousness, for one's life does not consist in the abundance of the things he possesses'" (Luke 12:15). Our giving on a regular basis helps to root out covetousness and selfishness from our lives.

นอกจากนี้ การเป็นผู้อารักขาที่ซื่อสัตย์ ช่วยให้เรามีชัยชนะเหนือความโลภและความเห็นแก่ตัวด้วย ความโลภ คือศัตรูตัวร้ายที่สุดของมนุษย์ ในพระบัญญัติสิบประการมีคำแช่งสาปเรื่องนี้ด้วย พระเยซูได้ทรงเตือนไว้ด้วยว่า “ระวังให้ดี จงหลีกเลี่ยงจากความโลภทุกอย่าง เพราะว่าชีวิตของคนไม่ได้อยู่ที่การมีของฟุ่มเฟือย” (ลูกา 12:15) การถวายอย่างสม่ำเสมอของเราช่วยให้ขุดเอาความโลภและความเห็นแก่ตัวออกจากชีวิตของเราทั้งหลายด้วย

Stewardship leads to the development of habits of economy and efficiency. Having "crucified the flesh with its passions and desires" (Gal. 5:24), we will use nothing for selfish gratification. "When the principles of stewardship are given mastery in the life, the soul is illuminated, the purpose is fixed, social pleasures are pruned of unwholesome features, the business life is conducted under the sway of the golden rule, and soul winning becomes the passion. Such are the bountiful blessings of God's provisions in a life of faith and faithfulness."11

ฉันทภาระนำไปสู่การพัฒนานิสัยให้เป็นคนประหยัดและใช้จ่ายอย่างเหมาะสมฐานะ ทุกสิ่ง “ได้ตรึงเนื้อหนังไว้ที่กางเขน” แล้ว (กาลาเทีย 5:24) เราจะไม่ใช้สิ่งใดเพื่อสนองความต้องการที่เห็นแก่ตัว “เมื่อนำเอาหลักการฉันทภาระมาครอบครองชีวิต จิตใจจะกระจ่างแจ้ง ยึดมั่นเป้าหมายในชีวิต ความสนุกสนานชีวิตทางสังคมที่ไม่เหมาะสมได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น การใช้ชีวิตดำเนินไปตามกฎทอง (มัทธิว 7:12) มีใจปรารถนาอย่างแรงกล้าในการนำจิตวิญญาณคนทั้งหลายมาหาพระเจ้า สิ่งเหล่านี้คือพระพรอันล้นเหลือที่พระองค์ทรงจัดเตรียมไว้ในชีวิตแห่งความเชื่อและสัตย์ซื่อ”11

A deep satisfaction and joy comes from the assurance that on everything invested for the salvation of those for whom He died, the Master inscribes, "'Inasmuch as you did it to one of the least of these My brethren, you did it to Me'" (Matt. 25:40).

ความพึงพอใจที่ล้ำลึกและความชื่นชมยินดีเกิดจากหลักประกันในทุกสิ่งที่ทุ่มเทลงไปเพื่อความรอดของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้สิ้นพระชนม์แก่เขา พระอาจารย์ทรงบรรยายไว้ว่า “เราบอกความจริงกับท่านทั้งหลายว่า ซึ่งพวกท่านได้ทำกับคนใดคนหนึ่งที่เล็กน้อยที่สุดในพี่น้องของเรานี้ ก็เหมือนทำกับเราด้วย” (มัทธิว 25:40)

"There is nothing too precious for us to give to Jesus. If we return to Him the talents of means which He has entrusted to our keeping, He will give more into our hands. Every effort we make for Christ will be rewarded by Him, and every duty we perform in His name will minister to our own happiness."12

“ไม่มีสิ่งใดที่มีค่าสูงเกินกว่าที่จะถวายให้แก่พระเยซู ถ้าเราถวายคืนตะลันต์ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับจากการที่พระองค์ทรงมอบไว้ให้เราดูแลรักษาแล้ว พระองค์ก็จะประทานใส่ไว้ในมือของเรามากยิ่งขึ้น ความพยายามทุกอย่างที่กระทำเพื่อพระคริสต์ พระองค์ก็จะทรงประทานบำเหน็จนั้นกลับคืนมา หน้าที่ทุกอย่างที่ปฏิบัติในพระนามของพระองค์ก็จะย้อนกลับมาเป็นความเบิกบานใจของเราเอง”12

A Blessing to Others

True stewards bless all whom they contact. They execute Paul's stewardship injunction, "Command them to do good, to be rich in good deeds, and to be generous and willing to share. In this way they will lay up treasure for themselves as a firm foundation for the coming age, so that they may take hold of the life that is truly life" (1 Tim. 6:18, 19, NIV).

พระพรแก่คนอื่น

ผู้อารักขาที่ดีเป็นพรแก่ทุกคนที่เขาเขาไปสัมพันธ์ด้วย เขานำเอาคำสั่งของเปาโลไปปฏิบัติใช้ “จงกำชับพวกเขาให้ทำการดี ให้ทำการดีมากๆ ให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน การทำเช่นนี้เป็นการสะสมทรัพย์ที่เป็นรากฐานอันดีสำหรับตนในภายหน้า เพื่อพวกเขาจะยึดมั่นในชีวิต คือชีวิตที่แท้จริงนั้น” (1 ทิโมธี 6:18, 19)

Stewardship involves service to others and being willing to share anything God has graciously bestowed that might benefit another. This means that "no longer do we consider that life consists of how much money we have, the titles we possess, the important people we know, the house and neighborhood we live in, and the position and influence we think we possess."13

ฉันทภาระคือการเข้าไปมีส่วนร่วมรับใช้คนอื่นและยินดีแบ่งปันสิ่งที่พระเจ้าประทานให้แก่เราเพื่อประโยชน์ของคนทั้งหลาย ในที่นี้มีความหมายรวมถึง “เราจะไม่คิดว่าชีวิตประกอบขึ้นจากจำนวนเงินว่ามีเท่าไร จำนวนสิ่งของที่เราครอบครองอยู่ การรู้จักบุคคลสำคัญ บ้านที่เราอาศัย เพื่อนบ้านที่มีอยู่ และตำแหน่งหรืออำนาจจูงใจที่คิดว่าตนเองมีอยู่”13

Real life is knowing God, developing loving and generous attributes like His, and giving what we can, according as He has prospered us. To really give in Christ's spirit is to really live.

แต่ชีวิตแท้คือการรู้จักพระเจ้า พัฒนาความรัก ความมีน้ำใจแบ่งปันเหมือนกับพระองค์ และให้สิ่งที่เราสามารถทำได้ ตามที่พระองค์ทรงประทานความมั่งมีให้ การให้ตามน้ำใจอย่างพระคริสต์คือชีวิตแท้

A Blessing to the Church

The adoption of the Biblical plan of stewardship is indispensable for the church. The continual participation of its members in giving is like exercise—it results in a strong church body, involved in sharing the blessings Christ has bestowed on it, and ready to respond to whatever needs there are in God's cause.

พระพรแก่คริสตจักร

การรับเอาหลักการแผนงานของพระคัมภีร์เกี่ยวกับฉันทภาระมาประยุกต์ใช้เป็นสิ่งที่คริสตจักรไม่อาจละทิ้งได้ การเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของสมาชิกของคริสตจักรในการถวายเปรียบได้กับการออกกำลังกาย ที่ส่งผลให้ร่างกายของคริสตจักรแข็งแรงขึ้น ได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันพระพรที่พระคริสต์ได้ประทานให้ และพร้อมเสมอในการตอบสนองต่อความต้องการในพระราชกิจของพระเจ้า

The church will have adequate funds to support the ministry, to expand God's kingdom in its immediate vicinity, and to extend it to the remote places of the earth. It will willingly make time, talents, and means available to God in love and gratitude for His blessings.

คริสตจักรจะมีงบประมาณที่เพียงพอเพื่อสนับสนุนพันธกิจ เพื่อขยายแผ่นดินของพระเจ้าให้กว้างออกไปทั้งใกล้และไกล จนครอบคลุมทั่วโลก เพื่อพร้อมเสมอในการอุทิศเวลา ความสามารถทั้งหลาย และทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่เพื่อพระเจ้า ด้วยความรักและสำนึกในพระกรุณาแห่งพระพรอันมากมายของพระองค์

In view of Christ's assurance that He will return when the gospel of the kingdom has been proclaimed as "a witness to all the nations" (Matt. 24:14),

ในทรรศนะของหลักประกันของพระคริสต์ที่ให้เห็นว่าพระองค์จะเสด็จกลับมา เมื่อข่าวประเสริฐแห่งแผ่นดินสวรรค์ “จะถูกประกาศไปทั่วโลก ให้เป็นคำพยานแก่บรรดาประชาชาติ แล้วที่สุดปลายจะมาถึง” (มัทธิว 24:14)

all are invited to be stewards and co-workers with Him. Thus the church's witness will be a powerful blessing to the world, and its faithful stewards will be made glad as they see the blessings of the gospel extended to others.

ทำให้เห็นว่าทุกคนได้รับการเชื้อเชิญให้เข้ามาเป็นผู้อารักขาและเป็นผู้ร่วมงานกับพระองค์ ดังนั้น การเป็นพยานของคริสตจักรจะมีพลังเป็นพรแก่ชาวโลก และบรรดาผู้อารักขาที่สัตย์ซื่อจะได้ความชื่นชมยินดีเมื่อได้เห็นพระพรอันมากมายของข่าวประเสริฐที่กระจายไปสู่คนทั้งหลายมากยิ่งขึ้น

References

หนังสืออ้างอิง

1 Webster's New Universal Unabridged Dictionary, 2nd ed., 1979, p. 1786.

2 SDA Encyclopedia, rev. ed., p. 1425.

3 Ibid.

4 Paul G. Smith, Managing God's Goods (Nashville: Southern Pub. Assn., 1973), p. 21.

5 See C.G. Tuland, "Tithing in the New Testament," Ministry, October 1961, p. 12.

6 E.g. in Exodus 27:20 the Lord gave special instructions that olive oil was to be provided for the lamps. Supplying the oil for the place of worship so that it could function properly was a continual obligation—but this operating expense did not come from the tithe. See also White, Counsels on Stewardship (Washington, D.C.: Review and Herald, 1940), pp. 102, 103. She says that Bible teachers in church-operated schools should be paid from the tithe (ibid., p. 103), but that it must not be used for other "school purposes," student loans, or supporting canvassers and colporteurs (White, Testimonies, vol. 9, pp. 248, 249; White, Selected Messages, book 2, p. 209). These phases of God's work are to be supported from the offerings.

7 T.H. Jemison made some very practical suggestions on how to calculate tithes. He wrote, "Tithe on salary is easy to figure. Ordinarily there are no 'business expenses'—that is, actual expenses in producing the income—to be deducted. Ten percent of the salary is tithe. . . . "Tithing business income has some variations from tithing a salary. A wholesale or retail merchant will deduct the expenses necessary to conduct his business before figuring the tithe. This includes the cost of hired help, heat, light, insurance, rent or property taxes, and similar items. These deductions do not, of course, include any of his personal or family living expenses. "The farmer deducts his costs—wages, fertilizer, repairs, interest, taxes, and the like. However, the farmer should consider in his income farm produce used by the family, as this reduces family living costs and serves as income. "Comparable procedures can be followed by the manufacturer, the investor, or the professional man. The accurate accounting that is necessary these days in all businesses makes it easy to compute the tithe on the increase, or profit, from the business. Some businessmen include their tithe calculation in their regular bookkeeping system. "Sometimes a woman whose husband is not a tithepayer finds it difficult to know how to relate herself to tithe paying. In some cases she can pay tithe on the money given her for household expenses. In other instances this has been forbidden. In such cases she may be able to tithe only what extra money she may earn or receive as a gift. 'For if there be first a willing mind, it is accepted according to that a man hath, and not according to that he hath not.' 2 Corinthians 8:12" (Christian Beliefs, p. 267).

8 Some Bible students believe that Israel contributed at least two tithes (some think three) in addition to various offerings. Regarding the first tithe the Lord had said, "'I have given the children of Levi all the tithe in Israel as an inheritance in return for the work which they perform'" (Num. 18:21). But as to the second tithe He said, "'You shall eat before the Lord your God, in the place where He chooses to make His name abide, the tithe of your grain and your new wine and your oil, of the firstlings of your herds and your flocks, that you may learn to fear the Lord your God always'" (Deut. 14:23). For two years out of three, the Israelites were to bring this tithe, or its equivalent in money, to the sanctuary. There it would be used to celebrate the religious festivals and also to provide for the Levites, strangers, fatherless, and widows. Every third year the Israelites were to use the second tithe at home to entertain the Levites and the poor. So the second tithe was used for charity and hospitality (Deut. 14:27-29; 26:12). See White, Patriarchs and Prophets, p. 530; "Tithe," SDA Bible Dictionary, rev. ed., p. 1127.

9 Cf. White, Testimonies, vol. 3, p. 392.

10 From a Biblical perspective possession is not ownership. Our attitude toward tithing indicates whether we acknowledge that we are only managers or whether we pretend to be owners.

11 Froom, "Stewardship in Its Larger Aspects," Ministry, June 1960, p. 20.

12 White, Testimonies, vol. 4, p. 19.

13 P.G. Smith, p. 72.