There is one God: Father, Son, and Holy Spirit, a unity of three co-eternal Persons. God is immortal, all-powerful, all-knowing, above all, and ever present. He is infinite and beyond human comprehension, yet known through His self-revelation. He is forever worthy of worship, adoration, and service by the whole creation.—Fundamental Beliefs, 2
มีพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว พระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นสามพระภาคที่เป็นหนึ่งเดียวกัน พระเจ้าทรงพระชนม์ตลอดกาล ทรงสรรพานุภาพ ทรงสัพพัญญู ทรงอยู่เหนือทุกสิ่งและทรงดำรงอยู่ตลอดกาล พระองค์ไม่มีขอบเขตจำกัด ทรงอยู่เหนือความหยั่งรู้ของมนุษย์ ถึงกระนั้นก็ตามพระองค์ทรงเปิดเผยพระองค์แก่เขา พระองค์ทรงสมควรได้รับการนมัสการ ยอกย่องสรรเสริญและได้รับการปรนนิบัติรับใช้โดยสรรพสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างตลอดไปเป็นนิตย์ - หลักข้อเชื่อข้อที่ 2
At Calvary almost everyone rejected Jesus Only a few recognized who Jesus really was—among them, the dying thief who called Him Lord (Luke 23:42), and the Roman soldier who said, "'Truly this Man was the Son of God! . . . (Mark 15:39).
ณ คาลวารี เกือบทุกคนปฏิเสธพระเยซู มีเพียงไม่กี่คนที่ยอมรับว่าพระเยซูคือใคร หนึ่งในจำนวนนั้นคือโจรที่กำลังทุกข์ทรมานเจียนตาย เขาเรียกพระองค์ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้า (ลูกา 23:42) และนายทหารโรมัน ผู้กล่าวว่า “ท่านผู้นี้เป็นพระบุตรของพระเจ้าจริงๆ” (มาระโก 15:39)
When John wrote, "He came unto His own, and His own did not receive Him" (John 1:11), he was thinking not merely of the crowd at the cross, or even of Israel, but of every generation that has lived. Except for a handful, all humanity, like that raucous crowd at Calvary, has failed to recognize in Jesus their God and Saviour. This failure, humanity's greatest and most tragic, shows that humanity's knowledge of God is radically deficient.
เมื่อยอห์นเขียนว่า “พระองค์เสด็จมายังบ้านเมืองของพระองค์ แต่ชาวบ้านชาวเมืองของพระองค์ไม่ต้อนรับพระองค์” (ยอห์น 1:11) เขาไม่เพียงแต่กำลังนึกถึงฝูงชนที่ไม้กางเขน หรือแม้แต่คนอิสราเอล แต่กำลังคิดถึงมนุษย์ทุกชั่วอายุคนที่มีชีวิตอยู่ มนุษยชาติก็เหมือนกับฝูงชนที่โห่ร้องที่เนินเขาคาลวารี ที่ไม่ยอมรับว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของพวกเขา ยกเว้นคนเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น ความล้มเหลวนี้นับเป็นโศกนาฎกรรมอันเลวร้ายที่สุดของมนุษยชาติ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีความรู้ในเรื่องของพระเจ้าเพียงน้อยนิดซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
Knowledge of God
The many theories attempting to explain God, and the many arguments for and against His existence, show that human wisdom cannot penetrate the divine. Depending on human wisdom alone to learn about God is like using a magnifying glass to study the constellations. Hence, to many, God's wisdom is a "hidden wisdom" (1 Cor. 2:7). To them God is a mystery. Paul wrote, "None of the rulers of this age knew; for had they known, they would not have crucified the Lord of glory" (1 Cor. 2:8).
ความเข้าใจเกี่ยวกับพระเจ้า
มีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายเกี่ยวกับพระเจ้า และมีข้อโต้แย้งจำนวนมากที่พยายามบอกว่าพระองค์ไม่มีตัวตนที่แท้จริง แสดงให้เห็นว่าสติปัญญาของมนุษย์ไม่สามารถหยั่งลึกลงในเรื่องราวของพระเจ้าได้ การพึ่งพาปัญญาของมนุษย์เพื่อเรียนรู้เรื่องของพระเจ้าก็เหมือนกับการใช้แว่นขยายธรรมดาศึกษาดวงดาวในจักรวาล ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หลายคนเห็นว่า พระปัญญาจึงเป็น “พระปัญญาที่ทรงซ่อนไว้” (1 โครินธ์ 2:7) สำหรับคนเหล่านี้เห็นว่าเรื่องของพระเจ้าเป็นความลึกลับ เปาโลจึงเขียนว่า “ไม่มีอำนาจครอบครองใดๆในยุคนี้รู้จักพระปัญญานี้ เพราะว่าถ้ารู้จักแล้ว จะไม่เอาองค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งพระสิริตรึงกางเขน” (1 โครินธ์ 2:8)
One of the most basic commandments of Scripture is to love "God with all your heart, with all your soul, and with all your mind" (Matt. 22:37; cf. Deut. 6:5). We cannot love someone we know nothing about, yet we cannot by searching find out the deep things of God (Job 11:7). How then can we come to know and love the Creator?
หนึ่งในพระบัญญัติเบื้องต้นของพระคัมภีร์กล่าวว่า “จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านด้วยสุดใจของท่านด้วยสุดจิตของท่าน และด้วยสุดความคิดของท่าน” (มัทธิว 22:37; เฉลยธรรมบัญญัติ 6:5) เราไม่สามารถรักใครสักคนหนึ่งที่เราไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับตัวเขา ถึงกระนั้นก็ตาม เราก็ไม่สามารถค้นหาความล้ำลึกเกี่ยวกับพระเจ้าได้ด้วยตนเอง (โยบ 11:7) ถ้าอย่างนั้นเราจะสามารถรู้จักและรักพระผู้สร้างพระองค์นี้ได้อย่างไร
God Can Be Known. Realizing the human predicament, God, in His love and compassion, reached out to us through the Bible. It reveals that "Christianity is not a record of a man's quest for God; it is the product of God's revelation of Himself and His purposes to man."1 This self-revelation is designed to bridge the gulf between a rebellious world and a caring God.
เรื่องของพระเจ้าเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ เมื่อตระหนักถึงสถานะของมนุษย์แล้ว พระเจ้าผู้ทรงกอปร์ด้วยความรักและเมตตา ทรงนำพระองค์มาสู่มนุษย์ผ่านททางพระคัมภีร์ เปิดเผยให้เห็นว่า “คริสต์ศาสนาไม่ใช่เพียงบันทึกเรื่องราวการแสวงหาพระเจ้าของมนุษย์เท่านั้น นี่คือผลของการเปิดเผยพระองค์เองของพระเจ้า และพระประสงค์ของพระองค์แก่มนุษย์” 1 การเปิดเผยพระองค์นี้ได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างอันกว้างใหญ่ระหว่างโลกที่กบฏและพระเจ้าผู้ทรงห่วงใย
The manifestation of God's greatest love came through His supreme revelation, Jesus Christ, His Son. Through Jesus we can know the Father. As John states, "'The Son of God has come and has given us an understanding, that we may know Him who is true'" (1 John 5:20). And Jesus said, "This is eternal life, that they may know You, the only true God, and Jesus Christ whom You have sent" (John 17:3).
การเปิดเผยให้เห็นความรักอันยิ่งใหญ่ที่สุดของพระเจ้าก็โดยทางพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์ โดยทางพระเยซูนี้เองทำให้เราสามารถทราบเรื่องราวของพระบิดา ดังที่ยอห์นกล่าวไว้ว่า "เรารู้ว่า พระบุตรของพระเจ้าเสด็จมาแล้ว และประทานสติปัญญาแก่เรา เพื่อให้เรารู้จักพระองค์ผู้ทรงสัตย์จริง” (1 ยอห์น 5:20) พระเยซูทรงตรัสว่า “นี่แหละคือชีวิตนิรันดร์ คือการที่พวกเขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใช้มา” (ยอห์น 17:3)
This is good news. Although it is impossible to know God completely, the Scriptures afford a practical knowledge of Him that is sufficient for us to enter into a saving relationship with Him. Obtaining a Knowledge of God, unlike other knowledge, the knowledge of God is as much a matter of the heart as it is of the brain. It involves the whole person, not just the intellect. There must be an openness to the Holy Spirit and a willingness to do God's will (John 7:17; cf. Matt. 11:27). Jesus said, "'Blessed are the pure in heart, for they shall see God'" (Matt. 5:8).
นี่แหละคือข่าวดี ถึงแม้จะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้เรื่องของพระเจ้าได้ทั้งหมด พระคัมภีร์ได้พยายามให้ความรู้เกี่ยวกับพระองค์เท่าที่สามารถรับรู้ได้ ให้เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญเทียบเท่ากับหัวใจ มีคุณค่าเท่ากับสมอง เพราะต้องเรียนรู้ทั้งหมด ไม่เพียงแต่รู้จักเพียงอย่างเดียว นี่จะต้องเป็นเพราะการเปิดเผยของพระวิญญาณบริสุทธิ์และเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า (ยอห์น 7:17 มัทธิว 11:27) พระเยซูทรงตรัสว่า “คนที่มีใจบริสุทธิ์ ก็เป็นสุข เพราะว่าเขาทั้งหลายจะได้เห็นพระเจ้า” (มัทธิว 5:8)
Unbelievers, therefore, cannot understand God. Paul exclaimed, "Where is the wise man? Where is the scholar? Where is the philosopher of this age? Has not God made foolish the wisdom of the world? For since in the wisdom of God the world through its wisdom did not know him, God was pleased through the foolishness of what was preached to save those who believe" (1 Cor. 1:20, 21, NIV).
ด้วยเหตุนี้ คนที่ไม่เชื่อจึงไม่สามารถเข้าใจพระเจ้า เปาโลอธิบายว่า “คนมีปัญญาของยุคนี้อยู่ที่ไหน? บัณฑิตของยุคนี้อยู่ที่ไหน? นักโต้ปัญหาของยุคนี้อยู่ที่ไหน? พระเจ้าทรงทำให้ปัญญาฝ่ายโลกเป็นความโง่แล้วไม่ใช่หรือ? เพราะตามที่ทรงกำหนดไว้ตามพระสติปัญญาของพระเจ้า โลกไม่อาจรู้จักพระเจ้าได้โดยปัญญาของตน พระเจ้าจึงพอพระทัยจะช่วยพวกที่เชื่อให้รอดโดยคำเทศนาโง่ๆ” (1 โครินธ์ 1:20-21)
The way we learn to know God from the Bible differs from all other methods of acquiring knowledge. We cannot place ourselves above God and treat Him as an object to be analyzed and quantified. In our search for a knowledge of God we must submit to the authority of His self-revelation—the Bible. Since the Bible is its own interpreter, we must subject ourselves to the principles and methods it provides. Without these Biblical guidelines we cannot know God.
วิธีเรียนรู้เกี่ยวกับพระเจ้าจากพระคัมภีร์แตกต่างไปจากการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีอื่นๆ เราไม่สามารถนำตัวไปอยู่เหนือพระเจ้าและปฏิบัติต่อพระองค์ราวกับว่าเป็นวัตถุที่สามารถนำมาวิเคราะห์และวัดปริมาณได้ ในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าเราจะต้องยอมมอบอำนาจของการเปิดเผยพระองค์ ให้แก่พระคัมภีร์เท่านั้น เมื่อพระคัมภีร์เป็นหนังสือที่สามารถเปิดเผยตนเองได้ เราจะต้องยอมรับเอาหลักการและวิธีการต่างที่มีอยู่ในนั้น หากไม่มีการชี้นำโดยพระคัมภีร์เราก็ไม่สามารถเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าได้
Why did so many of the people of Jesus' day fail to see God's self-revelation in Jesus? Because they refused to subject themselves to the guidance of the Holy Spirit through the Scriptures, they misinterpreted God's message and crucified their Saviour. Their problem was not one of intellect. It was their closed hearts that darkened their minds, resulting in eternal loss.
อะไรเป็นเหตุทำให้คนมากมายในสมัยของพระเยซู ไม่สามารถเห็นการเกิดเปิดเผยพระเจ้าได้ เพราะคนเหล่านั้นปฏิเสธไม่ยอมจำนนต่อการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยทางพระคัมภีร์ คนเหล่านั้นตีความหมายข่าวสารของพระเจ้าอย่างไม่ถูกต้อง และนำเอาพระผู้ช่วยให้รอดไปตรึงบนไม้กางเขน ปัญหาของพวกเขาไม่ใช่การขาดสติปัญญา แต่เป็นเพราะจิตใจที่ปิดทำให้ความคิดมืดบอด ผลก็คือการหลงหายตลอดกาล
The Existence of God
There are two major sources of evidence for the existence of God. The book of nature and the Scriptures. Evidence From Creation. Everyone can learn of God through nature and human experience. David wrote, "The heavens declare the glory of God; and the firmament shows His handiwork" (Ps. 19:1). John maintained that God's revelation, including nature, enlightens everyone (John 1:9). And Paul claimed, "Since the creation of the world His invisible attributes are clearly seen, being understood by the things that are made" (Rom. 1:20).
พระเจ้าทรงดำรงอยู่
มีหลักฐานจากสองแหล่งสำคัญที่ทำให้รู้ว่าพระเจ้ามีอยู่จริง คือหนังสือแห่งธรรมชาติและพระคัมภีร์ หลักฐานจากการทรงสร้าง ทุกคนสามารถเรียนรู้จักพระเจ้าจากธรรมชาติและประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ ดาวิดกล่าวว่า “ฟ้าสวรรค์ประกาศพระสิริของพระเจ้า และภาคพื้นฟ้าสำแดงพระหัตถกิจของพระองค์” (สดุดี 19:1) ยอห์นยืดหยัดว่าการเปิดเผยพระองค์ของพระเจ้านั้นรวมทั้งในธรรมชาติ ทำให้ทุกคนได้บรรลุถึงความจริงนั้น (ยอห์น 1:9) และเปาโลกล่าวว่า “ตั้งแต่เริ่มสร้างโลกมานั้น สภาพของพระเจ้าซึ่งตามนุษย์มองไม่เห็น คือฤทธานุภาพอันถาวรและเทวสภาพของพระองค์ ก็ได้ปรากฏชัดในสรรพสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ฉะนั้นพวกเขาจึงไม่มีข้อแก้ตัวเลย” (โรม 1:20)
Human behavior also gives evidence for God's existence. In the Athenian worship of the "unknown God," Paul saw evidence of a belief in God. Said he, "The One whom you worship without knowing, Him I proclaim to you" (Acts 17:23). Paul also said the behavior of non-Christians revealed the witness of "their conscience" and showed that God's law is written "in their hearts" (Rom. 2:14, 15).
ลักษณะนิสัยของมนุษย์ก็เป็นหลักฐานอีกประการหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าพระเจ้าทรงมีจริง การนมัสการพระเจ้า “ที่ไม่รู้จัก” ของชาวเอเธนส์ ทำให้เปาโลเห็นหลักฐานความเชื่อเรื่องพระเจ้า เขาจึงกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจึงมาประกาศให้พวกท่านรู้ถึงพระเจ้าองค์ที่ท่านไม่รู้จักแต่ ยังนมัสการอยู่” (กิจการ 17:23) นอกจากนี้เปาโลยังกล่าวถึงการประพฤติของคนที่ไม่ได้เป็นคริสเตียนเปิดเผยเป็นพยานถึง “มโนธรรม” ของเขาที่แสดงว่าพระบัญญัติของพระเจ้า “จารึกอยู่ในจิตใจของเขา” (โรม 2:14, 15)
This intuition that God exists is found even among those who have no access to the Bible. This general revelation of God led to a number of classical rational arguments for the existence of God. 2 Evidence From Scripture. The Bible does not prove God's existence. It assumes it. Its opening text declares, "In the beginning God created the heavens and the earth" (Gen. 1:1).
ในสัญชาตญาณเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง พบได้แม้ในบรรดาคนที่ไม่เคยอ่านพระคัมภีร์มาก่อน การเปิดเผยโดยทั่วไปของพระเจ้าจากสิ่งเหล่านี้นำไปสู่การโต้แย้งทางเหตุผลว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่เกิดขึ้นจำนวนมาก 2 หลักฐานจากพระคัมภีร์ พระคัมภีร์ไม่ได้พิสูจน์ว่าพระเจ้าทรงมีจริง พระคัมภีร์ถือว่าพระเจ้ามี ด้วยการประกาศอย่างเปิดเผยว่า “ในปฐมกาล พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดิน” (ปฐมกาล 1:1)
The Bible describes God as the Creator, Sustainer, and Ruler of all creation. God's revelation through creation is so powerful that there is no excuse for atheism, which arises from a suppression of divine truth or from a mind that refuses to acknowledge the evidence that God exists (Ps. 14:1; Rom. 1:18-22, 28).
พระคัมภีร์บรรยายให้เห็นว่าพระเจ้าในฐานะพระผู้สร้าง พระผู้ทรงค้ำจุน และผู้ทรงครอบครองสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง การเปิดเผยของพระเจ้าทางสิ่งที่ทรงสร้างมีอำนาจมากมายแม้คนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง (อเทวนิยม) ไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ความไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริงเกิดขึ้นจากการปิดบังความจริงของพระเจ้า หรือปิดบังจากความคิดซึ่งปฏิเสธการเรียนรู้หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นว่าพระเจ้าทรงมีอยู่จริง (สดุดี 14:1 โรม 1:18-22, 28)
There are enough evidences for God's existence to convince anyone who seriously tries to discover the truth about Him. Yet faith is a prerequisite for "without faith it is impossible to please Him, for he who comes to God must believe that He is, and that He is a rewarder of those who diligently seek Him" (Heb. 11:6). Faith in God, however, is not blind. It is based on sufficient evidence found both in God's revelations through the Scriptures and through nature.
มีหลักฐานมากพอที่ชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่จริง เพื่อโน้มน้าวใจทุกผู้ที่พยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อจึงเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่จะทำให้รู้ว่าพระเจ้ามีจริง “ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว จะไม่เป็นที่พอพระทัยเลย เพราะว่าผู้ที่จะมาเฝ้าพระเจ้านั้น ต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จแก่คนเหล่านั้นที่แสวงหาพระองค์” (ฮีบรู 11:6) อย่างไรก็ตาม ความเชื่อว่าพระเจ้ามีจริง ไม่ใช่การเชื่อแบบไม่เปิดหูเปิดตา แต่ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่เพียงพอซึ่งพบได้จาก การเปิดเผยของพระเจ้าในพระคัมภีร์และจากสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ
The God of the Scriptures
The Bible reveals God's essential qualities through His names, activities, and attributes. God's Names. At the time the Scriptures were written, names were important, as they still are in the Near East and Orient. There a name is considered to reveal the character of the bearer, his true nature and identity. The importance of God's names, disclosing His nature, character, and qualities, are revealed in His command "'You shall not take the name of the Lord your God in vain'" (Ex. 20:7).
พระเจ้าแห่งพระคัมภีร์
พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่เปิดเผยคุณลักษณะที่สำคัญของพระเจ้าผ่านทางพระนาม พระราชกิจและพระลักษณะของพระองค์ พระนามของพระเจ้า ในสมัยที่มีการเขียนพระคัมภีร์นั้น ชื่อเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งปัจจุบันยังคงความสำคัญในบรรดาประชาชนในตะวันออกกลางและตะวันออกไกล ชื่อของคนแถบนี้แสดงถึงลักษณะนิสัยของเจ้าของชื่อ เป็นลักษณะประจำตัวที่แท้จริงของบุคคลนั้นด้วย ความสำคัญของพระนามพระเจ้า เป็นการเปิดเผยพระลักษณะ พระอุปนิสัยและคุณลักษณะของพระองค์ ทั้งหมดนี้เปิดเผยให้เห็นในพระบัญญัติของพระองค์ "ห้ามใช้พระนามพระยาเวห์พระเจ้าของเจ้าของเจ้าในทางที่ผิด” (อพยพ 20:7 ฉบับแปล 2006)
David sang: "Praise to the name of the Lord Most High" (Ps. 7:17). "Holy and awesome is His name" (Ps. 111:9). "Let them praise the name of the Lord, for His name alone is exalted" (Ps. 148:13).
ดาวิดร้องออกมาว่า “ข้าพเจ้าจะร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระเจ้าผู้สูงสุด” (สดุดี 7:17) “พระนามของพระองค์ศักดิ์สิทธิ์และน่าคร้ามกลัวจริงๆ” (สดุดี 111:9) “ให้ทั้งหลายเหล่านี้สรรเสริญพระนามพระเจ้า เพราะพระนามของพระองค์เท่านั้นที่ควรเยินยอ” (สดุดี 148:13)
The Hebrew names El and Elohim ("God") reveal God's divine power. They depict God as the strong and mighty One, the God of Creation (Gen. 1:1; Ex. 20:2; Dan. 9:4). Elyon ("Most High") and El Elyon ("God Most High") focus on His exalted status (Gen. 14:18-20; Isa. 14:14). Adonai ("Lord") pictures God as Almighty Ruler (Isa. 6:1; Ps. 35:23). These names emphasize the majestic and transcendent character of God.
พระนาม เอล (El) และ เอโลฮิม (Elohim) ในภาษาฮีบรู (“พระเจ้า”) เผยให้เห็นว่าพระเจ้าทรงเป็นพระผู้ทรงฤทธานุภาพ สะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ทรงเข้มแข็งและทรงเป็นองค์ผู้ทรงฤทธิ์ เป็นพระเจ้าผู้ทรงเนรมิตสร้างสรรพสิ่ง (ปฐมกาล 1:1 อพยพ 20:2 ดาเนียล 9:4) เอลยอน (Elyon) (“องค์สูงสุด”) และ เอล เอลยอน (El Elyon) (“พระเจ้าผู้สูงสุด”) มุ่งเน้นไปที่สถานะอันที่ควรได้รับการยกย่องสูงสุดของพระองค์ (ปฐมกาล 14:18-20 อิสยาห์ 14:14) อาโดนาย (Adonai) (“องค์พระผู้เป็นเจ้า” หรือ “องค์เจ้านาย”) ให้เห็นภาพของพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ครอบครอง (อิสยาห์ 6:1 สดุดี 35:23) พระนามเหล่านี้เน้นให้เห็นถึงพระบารมีและพระลักษณะอันยิ่งใหญ่เกินพรรณนาของพระเจ้า
Other names reveal God's willingness to enter into a relationship with people. Shaddai ("Almighty") and El Shaddai ("God Almighty") portray the Almighty God, the source of blessing and comfort (Ex. 6:3; Ps. 91:1). The name Yahweh 3 , translated Jehovah or LORD, stresses God's covenant faithfulness and grace (Ex. 15:2, 3; Hosea 12:5, 6). In Exodus 3:14, Yahweh describes Himself as "I am who I am," or "I shall be what I shall be," indicating His unchangeable relation to His people. On occasions God even revealed Himself more intimately as "Father" (Deut. 32:6; Isa. 63:16; Jer. 31:9; Mal. 2:10), calling Israel "My Son, and My firstborn" (Ex. 4:22; cf. Deut. 32:19).
พระนามอื่น ๆ เผยให้เห็นถึงความยินดีของพระเจ้าที่เข้ามามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์ ชาดดาย (Shaddai) (“ทรงฤทธานุภาพ”) และ เอล ชาดดาย (El Shaddai) (“พระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์”) ผู้ทรงเป็นแหล่งแห่งพระพรและการหนุนใจ (อพยพ 6:3 สดุดี 91:1) พระนาม ยาห์เวห์3 ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า เยโฮวาห์ หรือ พระเจ้า เน้นไปที่พระนามของพระเจ้าผู้ทรงสัตย์ซื่อต่อพระสัญญาและทรงพระคุณ (อพยพ 15:2, 3 โฮเชยา 12:5, 6) ในพระธรรมอพยพ 3:14 พระยาห์เวห์ทรงบรรยายพระลักษณะของพระองค์ว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” หรือ “เราเป็นอยู่อย่างที่เราเป็นอยู่” ระบุให้เห็นว่าความผูกพันที่ทรงมีต่อประชากรของพระองค์นั้นไม่มีเปลี่ยนแปลง ครั้งหนึ่ง พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์ใกล้ชิดอย่างยิ่งในฐานะ “พระบิดา” (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:6 อิสยาห์ 63:16 เยเรมีย์ 31:9 มาลาคี 2:10) ทรงเรียกอิสราเอลว่า “บุตรชายของเรา บุตรหัวปีของเรา” (อพยพ 4:22 เฉลยธรรมบัญญัติ 32:19)
Except for Father, the New Testament names for God carry equivalent meanings to those of the Old Testament. In the New Testament, Jesus used Father to bring us into a close and personal relationship with God (Matt. 6:9; Mark 14:36; cf. Rom. 8:15; Gal. 4:6).
พระนามของพระเจ้าในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่มีความหมายเท่าเทียมกับความหมายของพระนามในพันธสัญญาเดิม ยกเว้นคำว่า “พระบิดา” เท่านั้น ในพันธสัญญาใหม่พระเยซูทรงใช้พระนาม พระบิดา เพื่อนำเราเข้าใกล้ชิดและมีความผูกพันอันแนบแน่นกับพระเจ้า (มัทธิว 6:9 มาระโก 14:36 โรม 8:15 กาลาเทีย 4:6)
God's Activities
Bible writers spend more time describing God's activities than His being. He is introduced as Creator (Gen. 1:1; Ps. 24:1, 2), Upholder of the world (Heb. 1:3), and Redeemer and Saviour (Deut. 5:6; 2 Cor. 5:19), carrying the burden for humanity's ultimate destiny. He makes plans (Isa. 46:11), predictions (Isa. 46:10), and promises (Deut. 15:6; 2 Peter 3:9). He forgives sins (Ex. 34:7), and consequently deserves our worship (Rev. 14:6, 7). Ultimately the Scriptures reveal God as Ruler, "the King eternal, immortal, invisible, the only God" (1 Tim. 1:17, NIV). His actions confirm that He is a personal God.
พระราชกิจของพระเจ้า
ผู้เขียนพระคัมภีร์ใช้เวลาจำนวนมากบรรยายพระราชกิจของพระเจ้ามากกว่าความเป็นพระเจ้าของพระองค์ โดยแนะนำให้รู้จักพระองค์ในฐานะพระผู้สร้าง (ปฐมกาล 1:1 สดุดี 24:1-2) ผู้ทรงค้ำจุนโลก (ฮีบรู 1:3) พระผู้ไถ่ และพระผู้ช่วยให้รอด (เฉลยธรรมบัญญัติ 5:6; 2 โครินธ์ 5:19) ผู้ทรงแบกรับภาระเพื่อนำมนุษย์ไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต พระองค์ทรงวางแผนงาน (อิสยาห์ 46:11) ทรงพยากรณ์ (อิสยาห์ 46:10) และทรงสัญญา (เฉลยธรรมบัญญัติ 15:6; 2 เปโตร 3:9) พระองค์ทรงยกโทษบาป (อพยพ 34:7) พระคัมภีร์ทรงเปิดเผยให้เห็นสถานะอันสูงสุดของความเป็นพระเจ้าคือ ทรงเป็น ผู้ครอบครอง “พระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงอยู่นิรันดร์ ผู้เป็นองค์อมตะและไม่ทรงปรากฏแก่ตา ผู้เป็นพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียว” (1 ทิโมธี 1:17) พระราชกิจของพระเจ้าเน้นย้ำให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้มีตัวตน
God's Attributes
The writers of Scripture provide additional information on the essence of God through testimonies about His divine attributes. God's incommunicable attributes comprise aspects of His divine nature not given to created beings. God is self-existent, for He has "life in Himself" (John 5:26). He is independent in will (Eph.1:5), and in power (Ps. 115:3). He is omniscient, knowing everything (Job 37:16; Ps. 139:1-18; 147:5; 1 John 3:20), because, as Alpha and Omega (Rev. 1:8), He knows the end from the beginning (Isa. 46:9-11).
คุณลักษณะของพระเจ้า
ผู้เขียนพระคัมภีร์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงความสำคัญของพระเจ้าผ่านทางคำพยานต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นพระเจ้าของพระองค์ คุณลักษณะที่ไม่เราสามารถติดต่อได้ปรกอบด้วย พระลักษณะความเป็นพระเจ้าของพระองค์ที่ไม่ประทานให้แก่สิ่งมีชีวิตที่พระองค์ทรงสร้าง พระเจ้าทรงดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง เพราะพระองค์คือ “พระบิดา (ผู้) ทรงมีชีวิตในพระองค์เอง” (ยอห์น 5:26) พระองค์ทรงกระทำทุกสิ่งตามความชอบพระทัยและพระประสงค์ของพระองค์ (เอเฟซัส 1:5) และในการใช้อำนาจ (สดุดี 115:3) โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ใด พระองค์ทรงสัพพัญญู ทรงรู้ทุกอย่าง (โยบ 37:16 สดุดี 139:1-18, 147:5; 1 ยอห์น 3:20) เพราะความเป็นอัลฟาและโอเมกา (ผู้เป็นเบื้องต้นและเบื้องปลาย) (วิวรณ์ 1:8) พระองค์ทรงทราบตอนสุดท้ายตั้งแต่เริ่มต้น (อิสยาห์ 46:9-11)
God is omnipresent (Ps. 139:7-12; Heb. 4:13), transcending all space. Yet He is fully present in every part of space. He is eternal (Ps. 90:2; Rev. 1:8), exceeding the limits of time, yet is fully present in every moment of time.
พระเจ้าทรงเป็นองค์สากลสถิต (ประทับอยู่ได้ทุกหนแห่ง) (สดุดี 139:7-12 ฮิบรู 4:13) ทรงอยู่เหนือจักรวาลทั้งปวง ถึงกระนั้นก็ตามพระองค์ทรงสถิอยู่ในจักรวาลทุกส่วน ทรงเป็นองค์นิรันดร์ (สดุดี 90:2 วิวรณ์ 1:8) ทรงอยู่เหนือกาลเวลา ถึงกระนั้นพระองค์ทรงสถิตอยู่ทุกเวลานาที
God is all powerful, omnipotent. That nothing is impossible to Him assures us that He accomplishes whatever He purposes (Dan. 4:17, 25, 35; Matt. 19:26; Rev. 19:6). He is immutable—or unchangeable—because He is perfect. He says, "I am the Lord, I do not change" (Mal. 3:6; see Ps. 33:11; James 1:17). Since, in a sense, these attributes define God, they are incommunicable.
พระเจ้าทรงฤทธานุภาพเหนือสรรพสิ่ง ทรงสรรพานุภาพ สามารถในทุกทาง สำหรับพระองค์ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้ ทำให้เราทั้งหลายมีความมั่นใจได้ว่าพระเจ้าจะทรงกระทำให้พระประสงค์ทุกอย่างของพระองค์สำเร็จ (ดาเนียล 4:17, 25, 35 มัทธิว 19:26 วิวรณ์ 19:6) พระองค์ไม่ เปลี่ยนแปลงรูปร่าง หรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะทรงเป็นองค์ผู้สมบูรณ์ทุกอย่าง ทรงตรัสว่า “เราคือพระเจ้าไม่มีผันแปร” (มาลาคี 3:6 ดู สดุดี 33:11 ยากอบ 1:17) ในเมื่อ โดยความหมายแล้ว คุณลักษณะเหล่านี้เป็นนิยามกำหนดความเป็นพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่ (มนุษย์) ไม่สามารถเข้าถึงหรือรับรู้ได้
God's communicable attributes flow from His loving concern for humanity. They include love (Rom. 5:8), grace (Rom. 3:24), mercy (Ps. 145:9), patience (2 Peter 3:15, NIV), holiness (Ps. 99:9), righteousness (Ezra 9:15; John 17:25), justice (Rev. 22:12), and truth (1 John 5:20). These gifts come only with the Giver Himself.
คุณลักษณะของพระเจ้าที่สามารถรับรู้ได้มาจากความรักและห่วงใยที่มีต่อมวลมนุษย์ของพระองค์ รวมทั้งความรัก (โรม 5:8) พระคุณ (โรม 3:24) พระเมตตา (145:9) ทรงอดทนนาน (2 เปโตร 3:15) ทรงบริสุทธิ์ (สดุดี 99:9) ทรงเป็นองค์ชอบธรรม (เอสรา 9:15 ยอห์น 17:25) ทรงยุติธรรม (วิวรณ์ 22:12) และทรงเป็นความจริง (1 ยอห์น 5:20) ขอประทานเหล่านี้ได้มาโดยพระเจ้าทรงเป็นผู้ประทานให้เท่านั้น
The Sovereignty of God
The Scriptures clearly teach God's sovereignty. "He does according to His will. . . . No one can restrain His hand" (Dan. 4:35). "'For You created all things, and by Your will they exist and were created'" (Rev. 4:11). "Whatever the Lord pleases He does, in heaven and in earth" (Ps. 135:6).
ความเป็นผู้ทรงฤทธิ์อำนาจเหนือสรรพสิ่งของพระเจ้า
พระคัมภีร์สอนอย่างชัดเจนถึงความเป็นผู้ทรงมีฤทธิ์อำนาจเหนือสรรพสิ่งของพระเจ้าว่า “พระองค์ทรงกระทำตามชอบพระทัยพระองค์.......ไม่มีผู้ใดยับยั้งพระหัตถ์ของพระองค์ได้” (ดาเนียล 4:35) “เพราะว่าพระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่ง และสรรพสิ่งก็ดำรงอยู่และถูกสร้างขึ้นตามพระประสงค์ของพระองค์” (วิวรณ์ 4:11) “พระเจ้าพอพระทัยสิ่งใด พระองค์ก็ทรงกระทำ ในฟ้าสวรรค์และบนแผ่นดินโลก” (สดุดี 135:6)
So Solomon could say, "The king's heart is in the hand of the Lord, like the rivers of water; He turns it wherever He wishes" (Prov. 21:1). Paul, aware of God's sovereignty, wrote, "'I will return again to you, God willing'" (Acts 18:21; see Rom. 15:32), while James admonished, "You ought to say, 'If the Lord wills'" (James 4:15).
ดังนั้น ซาโลมอนจึงสามารถกล่าวได้ว่า “พระทัยพระราชาเป็นเหมือนธารน้ำในพระหัตถ์ของพระเจ้า พระเจ้าจะหันไปไหนๆ ตามแต่พระองค์ทรงโปรด” (สุภาษิต 21:1) เปาโลรับรู้ถึงความเป็นผู้ทรงมีฤทธิ์อำนาจเหนือสรรพสิ่งของพระเจ้าจึงเขียนไว้ว่า “ถ้าเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ข้าพเจ้าจะกลับมาหาพวกท่านอีก” (18:21 ดูโรม 15:32) ขณะที่ยากอบยอมรับว่า “ถ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงโปรด” (ยากอบ 4:15)
Predestination and Human Freedom. The Bible reveals God's full control over the world. He "predestined" people "to be conformed to the image of His Son" (Rom. 8:29, 30), to be adopted as His children, and to obtain an inheritance (Eph. 1:4, 5, 11). What does such sovereignty imply for human freedom?
พระเจ้าลิขิตชีวิตและอิสรภาพของมนุษย์ พระคัมภีร์เปิดเผยให้เห็นว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่างในโลก พระองค์ทรง “ลิขิต” หรือกำหนดชะตากรรมของมนุษย์ เพื่อ “เพราะว่าทุกคนที่พระองค์ได้ทรงเลือกไว้แล้ว พระองค์ทรงกำหนดไว้ก่อนให้เป็นตามพระฉายาแห่งพระบุตรของพระองค์” (โรม 8:29, 30) ได้รับเอาเป็นบุตรของพระองค์ และได้รับมรดก (เอเฟซัส 1:4, 5, 11) ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วการเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งของพระเจ้าสามารถนำมาประกอบเข้ากับความเป็นอิสระของมนุษย์ได้อย่างไร
The verb to predestinate means "to determine beforehand." Some assume these passages teach that God arbitrarily elects some to salvation and others to damnation, irrespective of their own choice. But study of the context of these passages shows that Paul does not speak about God's capriciously excluding anyone.
คำกริยาว่า “ลิขิต” (predestinate) หมายความว่า “กำหนด (ลิขิต) ไว้ก่อนล่วงหน้า” บางคนสันนิษฐานว่าข้อความนี้สอนการที่พระเจ้าทรงชี้ขาดคัดเลือกบางคนให้ได้รับความรอด ส่วนคนที่ได้รับเลือกจะต้องถูกลงโทษ โดยไม่ขึ้นกับการเลือกวิถีการดำเนินชีวิตของเขา แต่หากศึกษาบริบทของข้อความในพระคัมภีร์เหล่านี้แล้วจะเห็นว่าเปาโลไม่ได้พูดถึงว่าพระเจ้าทรงแยกคนหนึ่งคนใดออกไปตามอำเภอใจไม่
The thrust of these texts is inclusive. The Bible clearly states that God "desires all men to be saved and to come to the knowledge of the truth" (1 Tim. 2:4). He is "not willing that any should perish but that all should come to repentance" (2 Peter 3:9).
สิ่งที่ข้อพระคัมภีร์นี้ย้ำถึงคือ การรวมไว้ทั้งหมด พระคัมภีร์ระบุไว้ชัดเจนว่า “พระองค์ทรงประสงค์ให้ทุกคนได้รับความรอด และรู้ความจริง” (1 ทิโมธี 2:4) พระองค์ทรง “พระองค์ไม่ทรงประสงค์ให้ใครพินาศเลย แต่ทรงประสงค์ให้ทุกคนกลับใจใหม่” (2 เปโตร 3:9)
There is no evidence that God has decreed that some persons should be lost; such a decree would deny Calvary, where Jesus died for everyone. The whoever in the text, "'For God so loved the world that He gave His only begotten Son, that whoever believes in Him should not perish but have everlasting life'" (John 3:16), means that anyone can be saved.
ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงตัดสินว่าบางคนจะหลงหาย เพราะการกระทำเช่นนั้นเท่ากับปฏิเสธคาลวารี ที่พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์เพื่อทุกคน คำว่า “เพื่อทุกคน” จากข้อพระธรรม “พระเจ้าทรงรักโลกดังนี้ คือได้ประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์” (ยอห์น 3:16) หมายความว่าทุกคนสามารถได้รับความรอดพ้นจากบาปได้
"That man's free will is the determining factor in his personal destiny is evident from the fact that God continually presents the results of obedience and disobedience, and urges the sinner to choose obedience and life (Deut. 30:19; Joshua 24:15; Isa.1:16, 20; Rev. 22:17); and from the fact that it is possible for the believer, having once been a recipient of grace, to fall away and be lost (1 Cor. 9:27; Gal. 5:4; Heb. 6:4-6; 10:29). . . .
“การทำตามความปรารถนาของมนุษย์เป็นปัจจัยในการตัดสินชะตากรรมของเขา เห็นอย่างชัดเจนจากข้อเท็จจริงที่ว่าพระเจ้าทรงให้เห็นถึงผลของความเชื่อฟังและความไม่เชื่อฟัง และกระตุ้นให้คนบาปนั้นเลือกการเชื่อฟังและชีวิต (เฉลยธรรมบัญญัติ 30:19 โยชูวา 24:15 อิสยาห์ 1:16 วิวรณ์ 22:17) ความเป็นจริงที่อาจเกิดขึ้นได้คือ เป็นไปได้ที่ผู้ที่เชื่อแล้ว เคยได้รับพระคุณมาแล้ว จะล้มลงและหลงหาย (1 โครินธ์ 9:27 กาลาเทีย 5:4 ฮีบรู 6:4-6, 10:29)….
"God may foresee each individual choice that will be made, but His foreknowledge does not determine what that choice shall be. . . . Bible predestination consists in the effective purpose of God that all who choose to believe in Christ shall be saved (John 1:12; Eph.1:4-10)" 4
“พระเจ้าอาจมองล่วงหน้าถึงการเลือกของแต่ละคนในอนาคต แต่ความเป็นผู้รู้สิ่งที่จะเกิดภายหน้าของพระองค์ไม่ได้ตัดสินว่าการเลือกนั้นจะเป็นอย่างไร.....การกำหนดล่วงหน้าในพระองค์ประกอบขึ้นจากผลแห่งพระประสงค์ของพระเจ้า คือ ผู้ใดที่เลือกเชื่อพระคริสต์จะได้รับความรอด (ยอห์น 1:12 เอเฟซัส 1:4-10)” 4
Then what does Scripture mean when it says that God loved Jacob and hated Esau (Rom. 9:13) and that He hardened Pharaoh's heart (vv. 17, 18; cf. vv. 15, 16; Ex. 9:16; 4:21)?
ถ้าเป็นอย่างที่ว่าทำไมพระคัมภีร์ที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงรักยาโคบและทรงเกลียดชังเอซาว หมายความว่าอย่างไร (โรม 9:13) การที่พระเจ้าทรงทำให้จิตใจของฟาโรห์แข็งกระด้าง หมายความว่าอย่างไร (ข้อ 17, 18, ข้อ 15-16, อพยพ 9:16, 4:21)
The context of these texts shows that Paul's concern is mission and not salvation. Redemption is available to anyone—but God chooses certain persons for special assignments. Salvation was equally available to Jacob and Esau, but God chose Jacob, not Esau, to be the line through whom He would take the message of salvation to the world. God exercises sovereignty in His mission strategy.
เนื้อหาของข้อพระธรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของเปาโลต่อการประกาศข่าวประเสริฐ ไม่ใช่เรื่องความรอด การไถ่ให้รอดมีไว้สำหรับทุกคนอยู่แล้ว แต่พระเจ้าทรงเลือกบางคน เพื่อภารกิจพิเศษที่ทรงมอบหมายไว้แก่เขา ความรอดมีไว้พร้อมเสมองสำหรับยาโคบและเอซาว พระเจ้าไม่เลือกเอซาว แต่ทรงเลือกยาโคบและเผ่าพันธุ์ของเขาเพื่อพระองค์จะนำเอาข่าวแห่งความรอดไปสู่ชาวโลก พระเจ้าทรงใช้ความเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งเพื่อแผนงานที่พระองค์ทรงกำหนดไว้
When Scripture says that God hardened Pharaoh's heart it is merely crediting Him with doing what He allows, and not implying that He ordains it. Pharaoh's negative response to God's call actually illustrates God's respect for his freedom to choose.
เมื่อพระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าทรงทำให้จิตใจของฟาโรห์แข็งกระด้างเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในพระองค์ว่าทรงกระทำตามที่จะทรงอนุญาต ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าทรงทำให้ฟาโรห์ใจแข็ง ความจริงแล้ว การตอบสนองการทรงเรียกของพระเจ้าในทางลบของฟาโรห์แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงให้เกียรติฟาโรห์ในการเลือกอย่างมีอิสระ
Foreknowledge and Human Freedom. Some believe that God relates to persons without knowing their choices until they are made; that God knows certain future events, such as the Second Advent, the millennium, and the restoration of the earth, but has no idea who will be saved. They feel that God's dynamic relationship with the human race would be in jeopardy if He knew everything that would transpire from eternity to eternity. Some suggest that He would be bored if He knew the end from the beginning.
การทราบล่วงหน้าและอิสระของมนุษย์ บางคนเชื่อว่าพระเจ้าทรงติดต่อกับบางคนโดยไม่รู้ว่าเขาเลือกการดำเนินชีวิตทางไหน จนเขาได้รับการสร้างขึ้นใหม่ เชื่อว่าพระเจ้าทรงทราบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแน่นอนเช่น การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู ยุคพันปี และการสร้างโลกนี้ขึ้นมาใหม่ แต่พระองค์ไม่ทราบว่าใครบ้างที่จะรอด เขารู้สึกว่าถ้าพระองค์ทรงทราบทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่นิรันดร์กาลถึงนิรันดร์กาล อาจทำให้ความสัมพันธ์อันมีพลังของพระเจ้ากับมนุษย์นั้นกลับจะเป็นอันตราย บ้างก็ว่าพระองค์คงเบื่อหน่ายที่รู้ตอนจบตั้งแต่เริ่มต้น
But God's knowledge about what individuals will do does not interfere with what they actually choose to do any more than a historian's knowledge of what people did in the past interferes with their actions. Just as a camera records a scene but does not change it, foreknowledge looks into the future without altering it. The foreknowledge of the Godhead never violates human freedom.
แต่ความเป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์แต่ละคนของพระเจ้าจะไม่เข้าไปแทรกแซงสิ่งที่เขาเลือกจะทำ มากไปกว่าที่นักประวัติศาสตร์ทราบเรื่องราวของผู้คนในอดีต ไม่เข้าไปแทรกแซงในสิ่งที่เขาทำได้ เหมือนกับกล้องถ่ายรูปที่บันทึกภาพไว้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ การรู้ล่วงหน้าเป็นมองเข้าไปในอนาคตโดยไม่เข้าไปดัดแปลงแก้ไข การทราบล่วงหน้าของพระเจ้าทั้งสามพระภาคจึงไม่ขัดแย้งกับอิสระของมนุษย์
Dynamics Within the Godhead
Is there only one God? What of Christ, and the Holy Spirit?
The Oneness of God
In contrast to the heathen of surrounding nations, Israel believed there was only one God (Deut. 4:35; 6:4; Isa. 45:5; Zech. 14:9). The New Testament makes the same emphasis on the unity of God (Mark 12:29-32; John 17:3; 1 Cor. 8:4-6; Eph. 4:4-6; 1 Tim. 2:5). This monotheistic emphasis does not contradict the Christian concept of the triune God or Trinity—Father, Son, and Holy Spirit; rather, it affirms that there is no pantheon of various deities.
ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าทั้งสามพระภาค (พระบิดา พระบุตร พระวิญญาณ)
พระเจ้ามีองค์เดียวเท่านั้นหรือ พระคริสต์และพระวิญญาณบริสุทธิ์คือใครกัน
ความเป็นเอกภาพของพระเจ้า
อิสราเอลเชื่อพระเจ้าองค์เดียวแตกต่างไปจากชาติต่าง ๆ รอบพวกเขา (เฉลยธรรมบัญญัติ 4:35, 6:4 อิสยาห์ 45:5 เศคาริยาห์ 14:9) พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ก็เน้นความเป็นเอกภาพของพระเจ้าเช่นกัน (มาระโก 12:29-32 ยอห์น 17:3, 1 โครินธ์ 8:4-6, และเอเฟซัส 4:4-6; 1 ทิโมธี 2:5) การนับถือ พระเจ้าองค์เดียว (เอกเทวนิยม) นี้ไม่ได้แตกต่างไปจากหลักการของคริสเตียนเกี่ยวกับพระเจ้าทั้งสามพระภาค พระบิดา พระบุตร แต่อย่างใด แต่กลับย้ำให้เห็นว่าคริสต์ศาสนาไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าหลายองค์ (พหุเทวนิยม)
The Plurality Within the Godhead. Although the Old Testament does not explicitly teach that God is triune, it alludes to a plurality within the Godhead. At times God employs plural pronouns such as: "'Let Us make man in Our image'" (Gen. 1:26);
พระภาคของพระเจ้าภายในองค์เดียว แม้ว่าพระคัมภีร์พันธสัญญเดิมไม่ได้สอนเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพ (พระเจ้าทั้งสามพระภาค) อย่างชัดเจนก็ตาม พระลักษณะความเป็นพระเจ้าทั้งสามพระภาคของพระองค์ได้ถูกกล่าวถึงเสมอ หลายครั้งที่พระนามของพระเจ้านำมาใช้เป็นพหูพจน์คำสรรพนาม (มีมากกว่าหนึ่งพระนาม) เช่น “"ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเรา” (ปฐมกาล 1:26)
"'Behold the man has become like one of Us'" (Gen. 3:22); "'Come, let Us go down'" (Gen. 11:7). At times the Angel of the Lord is identified with God. Appearing to Moses, the Angel of the Lord said, "'I am the God of your father—the God of Abraham, the God of Isaac, and the God of Jacob'" (Ex. 3:6).
"ดูสิ มนุษย์กลายเป็นเหมือนผู้หนึ่งในพวกเราแล้ว” (ปฐมกาล 3:22) “มาเถิด ให้เราลงไป ทำให้ภาษาของเขาวุ่นวายที่นั่น” (ปฐมกาล 11:7) (ฉบับแปล 2006) ขณะนั้นทูตสวรรค์ของพระเจ้าได้รับการนับรวมเข้าเป็นพระเจ้าด้วย เมื่อทูตสวรรค์ของพระเจ้าปรากฏต่อหน้าโมเสส ได้กล่าวว่า "เราเป็นพระเจ้าของบิดาเจ้า เป็นพระเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าของอิสอัค และพระเจ้าของยาโคบ" (อพยพ 3:6)
Various references distinguish the Spirit of God from God. In the Creation story "the Spirit of God was hovering over the face of the waters" (Gen. 1:2). Some texts not only refer to the Spirit but include a third person in God's work of redemption: "'And now the Lord God [the Father] and His Spirit [the Holy Spirit] have sent Me [the Son of God]'" (Isa. 48:16); "'I [the Father] have put My Spirit upon Him [the Messiah]; He will bring forth justice to the Gentiles'" (Isa. 42:1).
มีพระธรรมหลายข้อที่แยกให้เห็นระหว่างพระวิญญาณและพระเจ้า ในการเนรมิตสร้าง “พระวิญญาณของพระเจ้าปกอยู่เหนือน้ำนั้น” (ปฐมกาล 1:2) บางข้อไม่เพียงแต่หมายถึงพระวิญญาณเท่านั้น แต่รวมถึงบุคคลที่สามในการร่วมงานกับพระเจ้าในการไถ่ให้รอด “และบัดนี้พระเจ้า [พระบิดา] ได้ทรงใช้ข้าพเจ้า [พระบุตรของพระเจ้า] และพระวิญญาณของพระองค์ [พระวิญญาณบริสุทธิ์]” (อิสยาห 48:16) “เรา [พระบิดา] ได้เอาวิญญาณของเราสวมท่าน [พระเมสสิยาห์] ไว้แล้ว ท่านจะส่งความยุติธรรมออกไปให้แก่บรรดาประชาชาติ” (อิสยาห์ 42:1)
The Relationship Within the Godhead. The first advent of Christ gives us a much clearer insight into the triune God. John's Gospel reveals that the Godhead consists of God the Father (see chapter 3 of this book), God the Son (chapter 4), and God the Holy Spirit (chapter 5), a unity of three co-eternal persons having a unique and mysterious relationship.
ความสัมพันธ์ของพระเจ้าทั้งสามพระภาค การเสด็จมาครั้งแรกของพระคริสต์ทำให้เราได้เห็นภาพของตรีเอกานุภาพ (พระเจ้าทั้งสามพระภาค) ชัดเจนยิ่งขึ้น พระธรรมพระกิตติคุณยอห์นได้เปิดเผยให้เห็นว่าตรีเอกานุภาพประกอบไปด้วยพระเจ้าพระบิดา (ดูบทที่ 3 ของหนังสือเล่มนี้) พระเจ้าพระบุตร (ดูบทที่ 4) และพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์ (ดูบทที่ 5) ความเป็นเอกภาพขององค์นิรันดร์ทั้งสามมีความแตกต่างและมีความสัมพันธ์อันล้ำลึก
1. A loving relationship
When Christ cried out, "'My God, My God, why have You forsaken Me?'" (Mark 15:34) He was suffering from the estrangement from His Father that sin had caused. Sin broke humanity's original relationship with God (Gen. 3:6-10; Isa. 59:2). In His last hours, Jesus, the One who knew no sin, became sin for us. In taking our sin, our place, He experienced the separation from God that was our lot—and perished in consequence.
1. ความสัมพันธ์ในความรัก
เมื่อพระคริสต์ทรงร้องขึ้นว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมพระองค์ทรงทอดทิ้งข้าพระองค์?” (มาระโก 15:34) พระองค์กำลังทนทุกข์ทรมานจากการที่ความบาปของมนุษย์ทำให้ต้องถูกแยกออกจากพระบิดา ความบาปทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้าต้องแตกแยกตั้งแต่ต้น (ปฐมกาล 3:6-10 อิสยาห์ 59:2) ในช่วงเวลาสุดท้ายของพระเยซู พระองค์ผู้ไม่มีบาป ต้องมีบาปเพื่อเราทั้งหลาย โดยการรับเอาบาปของเรา สถานะของเราไปนั้น พระองค์ต้องถูกแยกออกจากพระเจ้าซึ่งสภาพอย่างนี้ควรตกอยู่กับเรา จากนั้นทรงรับผลของความพินาศเพื่อเราทั้งหลาย
Sinners will never comprehend what Jesus' death meant to the Godhead. From eternity He had been with His Father and the Spirit. They had lived as coeternal, coexistent in utter self-giving and love for one another. To be together for so long bespeaks the perfect, absolute love that existed within the Godhead. "God is love" (1 John 4:8) means that each so lived for the others that they experienced complete fulfillment and happiness.
คนบาปทั้งหลายไม่อาจหยั่งถึงได้ว่าความตายของพระเยซูนั้นมีความหมายต่อความเป็นตรีเอกานุภาพของพระองค์อย่างไร พระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวและประทับอยู่กับพระบิดาและพระวิญญาณตั้งแต่นิรันดร์กาล ทั้งสามพระองค์ทรงดำรงอยู่ร่วมกันตลอดนิรันดร์ ทรงดำรงอยู่ร่วมกันในการเสียสละ ในความรักแก่กันและกัน การร่วมกันในทุกสิ่งเป็นเวลานานแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ มีความรักอันสมบูรณ์ ซึ่งมีอยู่ภายในตรีเอกานุภาพ “พระเจ้าทรงเป็นความรัก” (1 ยอห์น 4:8) หมายความว่าแต่ละองค์ทรงดำรงอยู่เพื่อองค์อื่น ทรงร่วมกันในความสำเร็จทุกอย่างและในความชื่นชมยินดีด้วย
Love is defined in 1 Corinthians 13. Some may wonder how the qualities of longsuffering or patience would apply within the Godhead, who had a perfect loving relationship. Patience was first needed when dealing with rebel angels, and later with wayward humans.
ความรักได้รับการอธิบายไว้อย่างละเอียดในพระธรรม 1 โครินธ์ บทที่ 13 บางคนอาจสงสัยว่าคุณสมบัติของความอดทนนานนั้นจะนำมาใช้กับพระเจ้าทั้งสามพระภาค ผู้ทรงมีความรักผูกพันอันสมบูรณ์ได้อย่างไร ความอดทนนานเป็นสิ่งจำเป็นประการแรกในการจัดการปัญหาทูตสวรรค์ที่กบฏ จากนั้นจึงนำมาใช้กับมนุษย์ผู้ดื้อดึง
There is no distance between the persons of the triune God. All three are divine, yet they share their divine powers and qualities. In human organizations final authority rests in one person—a president, king, or prime minister. In the Godhead, final authority resides in all three members.
ไม่มีช่องว่างใด ๆ ระหว่างพระเจ้าทั้งสามพระภาค ทั้งสามพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ถึงกระนั้นก็ทรงแบ่งปันอำนาจและคุณสมบัติแก่กันและกัน ในการบริหารงานของมนุษย์นั้น อำนาจสูงสุดจะอยู่ที่บุคคลคนเดียว เช่น ประธานาธิบดี กษัตริย์ หรือนายกรัฐมนตรี ในตรีเอกานุภาพ อำนาจสูงสุดอยู่ที่สมาชิกทั้งสาม (พระเจ้าทั้งสามพระภาค)
While the Godhead is not one in person, God is one in purpose, mind, and character. This oneness does not obliterate the distinct personalities of the Father, the Son, and the Holy Spirit. Nor does the separateness of personalities within the Deity destroy the monotheistic thrust of Scripture, that the Father, Son, and Holy Spirit are one God.
ขณะที่ตรีเอกานุภาพไม่ใช่องค์เดียว พระเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียวกันในเป้าหมาย พระดำริ และพระลักษณะอุปนิสัย ความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ไม่สามารถลบล้างพระลักษณะความแตกต่างกันของพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ หรือความแตกต่างกันของพระลักษณะภายในพระเจ้าไม่อาจทำลายความเป็นพระเจ้าองค์เดียว (เอกเทวนิยม) ของพระคัมภีร์ที่กล่าวว่า พระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็น พระเจ้าองค์เดียวกันได้
2. A working relationship.
Within the Godhead an economy of function exists. God does not unnecessarily duplicate work. Order is the first law of heaven, and God works in orderly ways. This orderliness issues from and preserves the union within the Godhead. The Father seems to act as source, the Son as mediator, and the Spirit as actualizer or applier.
2. ความสัมพันธ์ในพระราชกิจ ภายในตรีเอกานุภาพนั้นแต่ละองค์ทรงมีหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติ ความเป็นระเบียบเป็นกฎเกณฑ์ของสวรรค์ และพระเจ้าทรงปฏิบัติพระราชกิจอย่างเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบนี้เกิดขึ้นมาและได้รับการรักษาไว้โดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของตรีเอกานุภาพ ดูเหมือนว่าพระบิดาทรงทำหน้าที่เป็นแหล่งของทุกอย่าง พระบุตรทรงเป็นคนกลาง และพระวิญญาณทรงทำหน้าที่ในการผู้หนุนนำหรือนำไปใช้
The incarnation beautifully demonstrated the working relationship of the three persons of the Godhead. The Father gave His Son, Christ gave Himself, and the Spirit gave Jesus birth (John 3:16; Matt. 1:18, 20). The angel's testimony to Mary clearly indicates the activities of all three in the mystery of God becoming man. "'The Holy Spirit will come upon you, and the power of the Highest will overshadow you; therefore, also, that Holy One who is to be born will be called the Son of God'" (Luke 1:35).
การเสด็จมาเกิดเป็นมนุษย์ (ของพระเยซู) เป็นการสาธิตให้เห็นถึงการร่วมกันทำหน้าที่ของพระเจ้าทั้งสามพระภาคได้อย่างงดงาม พระบิดาทรงประทานพระบุตร พระคริสต์ทรงประทานพระองค์เองและพระวิญญาณทรงโปรดให้พระเยซูมาประสูติ (ยอห์น 3:16 มัทธิว 1:18, 20) การเป็นพยานของทูตสวรรค์ต่อมารีย์ระบุให้เห็นถึงหน้าที่ของพระเจ้าทั้งสามพระภาค ในความลึกล้ำของการที่พระเจ้าทรงมาเกิดเป็นมนุษย์ “ทูตสวรรค์จึงตอบนางว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จลงมาเหนือเธอ และฤทธิ์เดชของผู้สูงสุดจะปกเธอ เพราะฉะนั้นองค์บริสุทธิ์ที่เกิดมานั้นจะได้ชื่อว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้า” (ลูกา 1:35)
Each member of the Godhead was present at the baptism of Christ: the Father giving encouragement (Matt. 3:17), Christ giving Himself to be baptized as our example (Matt. 3:13-15), and the Spirit giving Himself to Jesus to empower Him (Luke 3:21, 22).
แต่ละพระภาคของตรีเอกานุภาพทรงปรากฏพระองค์ในวันที่พระคริสต์ทรงรับบัพติศมา พระบิดาทรงหนุนใจ (มัทธิว 3:17) พระคริสต์ทรงมอบพระองค์เพื่อรับบัพติศมาเป็นแบบอย่างแก่เรา (มัทธิว 3:15-15) และพระวิญญาณทรงประทานพระองค์เพื่อพระเยซูเพื่อให้พระเยซูทรงมีฤทธิ์เดชของพระวิญญาณ (ลูกา 3:21-22)
Toward the end of His earthly life Jesus promised to send the Holy Spirit as counsellor or helper (John 14:16). Hours later, hanging on the cross, Jesus cried out to His Father, "'My God, My God, why have You forsaken Me?'" (Matt. 27:46). In those climactic moments for salvation history the Father, Son, and Holy Spirit were all part of the picture.
ขณะใกล้หมดเวลาการใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ของพระเยซู พระองค์ทรงสัญญาจะส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมาเป็นที่ปรึกษาหรือผู้ช่วย (ยอห์น 14:16) เวลาต่อมาอีกไม่นาน ขณะถูกตรึงอยู่บนไม้กางเขนนั้น พระเยซูทรงร้องหาพระบิดา “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมพระองค์ทรงทอดทิ้งข้าพระองค์เสีย?”(มัทธิว 27:46) ขณะอยู่ในจุดสุดยอดของห้วงเวลาเพื่อความรอดของมนุษย์นั้น จากภาพนี้ พระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณต่างแยกออกจากกัน
Today the Father and the Son reach out to us through the Holy Spirit. Jesus said, "'When the Helper comes, whom I shall send to you from the Father, the Spirit of truth who proceeds from the Father, He will testify of Me'" (John 15:26). The Father and Son send the Spirit to reveal Christ to each person. The great burden of the Trinity is to bring God and a knowledge of Christ to everyone (John 17:3) and to make Jesus present and real (Matt. 28:20; cf. Heb.13:5).
ในปัจจุบัน พระบิดาและพระบุตรทรงแสวงหาเราทั้งหลายผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเยซูทรงตรัสว่า “แต่เมื่อองค์ผู้ช่วยเสด็จมา ซึ่งเป็นผู้ที่เราจะใช้จากพระบิดามาหาพวกท่าน คือพระวิญญาณแห่งความจริงซึ่งมาจากพระบิดานั้น พระองค์จะทรงเป็นพยานให้เรา” (ยอห์น 15:26) พระบิดา และพระบุตรทรงส่งพระวิญญาณมาเปิดเผยพระคริสต์แก่ทุกคน ภาระหนักของตรีเอกานุภาพคือ การนำเอาความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าและพระคริสต์ไปสู่มนุษย์ทุกคน (ยอห์น 17:3) และเพื่อทำให้พระเยซูทรงเป็นที่รู้จักและเป็นจริง (มัทธิว 28:20 ฮีบรู 13:5)
Believers are elected to salvation, Peter said, "according to the foreknowledge of God the Father, in sanctification of the Spirit, for obedience and sprinkling of the blood of Jesus Christ" (1 Peter 1:2).
บรรดาผู้เชื่อได้รับการเลือกให้รับเอาความรอดจากบาป เปโตรกล่าวว่า “ตามที่พระเจ้าพระบิดาได้ทรงกำหนดไว้ล่วงหน้า และพระวิญญาณทรงทำให้บริสุทธิ์ เพื่อจะเชื่อฟังพระเยซูคริสต์ และได้รับการประพรมด้วยพระโลหิตของพระองค์” (1 เปโตร 1:2)
The apostolic benediction includes all three persons of the Godhead. "The grace of the Lord Jesus Christ, and the love of God, and the communion of the Holy Spirit be with you all" (2 Cor.13:14). Christ heads the list. God's point of contact with humanity was and is through Jesus Christ—the God who became man.
ในคำอำนวยพรส่งท้ายของอัครสาวกมีการกล่าวถึงพระเจ้าทั้งสามพระภาค “ขอให้พระคุณของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า ความรักของพระเจ้า และการมีส่วนกันที่มาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ จงดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายทุกคนเถิด” (2 โครินธ์ 13:14) พระนามของพระคริสต์นำมาเอ่ยถึงก่อนพระนามอื่น พระเจ้าทรงชี้ให้เห็นการติดต่อกับมนุษย์โดยทางพระเยซูคริสต์ พระเจ้าผู้ทรงมาเกิดเป็นมนุษย์
Though all three members of the Trinity work together to save, only Jesus lived as a man, died as a man, and became our Saviour (John 6:47; Matt. 1:21; Acts 4:12). But because "God was in Christ reconciling the world to Himself" (2 Cor. 5:19), God could also be designated as our Saviour (cf. Titus 3:4), for He saved us through Christ the Saviour (Eph. 5:23; Phil. 3:20; cf. Titus 3:6).
สมาชิกทั้งสามพระองค์ของตรีเอกานุภาพทรงทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อช่วยมนุษย์ให้รอด มีเพียงพระเยซูเท่านั้นทรงมีชีวิตของมนุษย์ ตายเหมือนมนุษย์ และมาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา (ยอห์น 6:47 มัทธิว 1:21 กิจการ 4:12) แต่เพราะ “พระเจ้า ผู้ทรงให้เราคืนดีกับพระองค์โดยทางพระเยซูคริสต์” (2 โครินธ์ 5:19) นอกจากนี้พระเจ้าทรงสามารถเป็นผู้ได้รับการกำหนดให้เป็นพระผู้ช่วยให้รอดได้หรือไม่ (ทิตัส 3:4) เพราะพระองค์ได้ทรงช่วยเราทั้งหลายได้รอดโดยทางพระคริสต์ผู้ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอด (เอเฟซัส 5:23 ฟีลิปปี 3:20 ทิตัส 3:6)
In the economy of function, different members of the Godhead perform distinct tasks in saving man. The work of the Holy Spirit does not add anything to the adequacy of the sacrifice that Jesus Christ made at the cross. Through the Holy Spirit the objective atonement at the cross is subjectively applied as the Christ of the atonement is brought within. Thus Paul speaks of "Christ in you, the hope of glory" (Col. 1:27).
ในการทำหน้าที่ฝ่ายให้เป็นตามระเบียบ พระเจ้าทั้งสามพระภาคทรงทำหน้าที่แตกต่างกันเพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาป หน้าที่ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ได้เพิ่มเติมอะไรเข้าไปในความเสียสละของพระเยซูคริสต์ที่ทรงกระทำบนไม้กางเขนที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงทำให้วัตถุประสงค์ของการลบบาปบนไม้กางเขน เกิดขึ้นอีกในชีวิตของผู้เชื่อเหมือนกับพระคริสต์ทรงเข้ามาในชีวิตของผู้นั้น ด้วยเหตุนี้เปาโลจึงกล่าวว่า “พระคริสต์สถิตในพวกท่าน อันเป็นความหวังที่จะได้รับศักดิ์ศรี” (โคโลสี 1:27)
Focus on Salvation
The early church baptized persons into the name of the Father, Son, and Holy Spirit (Matt. 28:19). But since it was through Jesus that God's love and purpose were revealed, the Bible focuses on Him. He is the hope foreshadowed in the Old Testament sacrifices and festivals. He is the One who occupies center stage in the Gospels.
ทุกสิ่งรวมอยู่ที่ความรอดพ้นจากบาป
คริสเตียนในยุคแรกบัพติศมาให้แก่ผู้เชื่อในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ (มัทธิว 28:19) ในเมื่อความรักของพระเจ้าและพระประสงค์ได้รับการเปิดเผยโดยทางพระเยซู พระคัมภีร์ได้เน้นรวมไว้ที่พระองค์ พระเยซูคือความหวังใจที่เป็นเงาให้เห็นในพิธีถวายบูชาและเทศกาลต่าง ๆ ของพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม พระองค์คือผู้ยืนอยู่ตรงกลางของเวทีการแสดงของข่าวประเสริฐ
He is the Good News proclaimed by the disciples in sermons and writings—the Blessed Hope. The Old Testament looks forward to His coming; the New Testament reports His first advent and looks forward to His return.
พระองค์คือข่าวดีที่ประกาศโดยอัครสาวก ทั้งในการประกาศเทศนาและความหวังใจแห่งพระพร พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมมองไปข้างหน้ายังการเสด็จมาของพระองค์ พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่รายงานผลการเสด็จมาครั้งแรก และมองไปข้างหน้ายังการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระองค์ พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่แจ้งการเสด็จมาครั้งแรกของพระองค์ และมองไปในวันข้างหน้าเพื่อการเสด็จกลับมาของพระองค์
Christ, the mediator between God and us, thus unites us to the Godhead. Jesus is "the way, the truth, and the life" (John 14:6). The good news is centered in a Person and not merely a practice. It has to do with a relationship, not just rules—for Christianity is Christ. We find in Him the core, content, and context for all truth and life.
พระคริสต์ทรงเป็นคนกลางระหว่างพระเจ้าและเราทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงนำเราทั้งหลายเข้าสนิทกับพระเจ้าทั้งสามพระภาค พระเยซูทรงเป็น “ทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต” (ยอห์น 14:6) ข่าวดีมีศูนย์กลางอยู่ในตัวของบุคคลหนึ่ง (คือในชีวิตของพระองค์) ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติเท่านั้น เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ไม่ใช่เพียงกฎเกณฑ์เท่านั้น เพราะศาสนาคริสเตียน คือ พระคริสต์ เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นแก่นแกน องค์ประกอบ และท้องเรื่องทั้งหมดของความจริงและชีวิต
Looking at the cross, we gaze into the heart of God. On that instrument of torture He poured out His love for us. Through Christ the love of the Godhead fills our aching, empty hearts. Jesus hung there as God's gift and our substitute. At Calvary God descended to earth's lowest point to meet us; but it is the highest place where we can go. When we go to Calvary we have ascended as high as we can toward God.
เมื่อมองไปที่ไม้กางเขน เราเพ่งสายตาเข้าไปในพระทัยของพระเจ้า ขณะตกอยู่ในเครื่องมือที่ใช้ทรมานนั้น ทรงหลั่งรินความรักพระองค์เพื่อเราทั้งหลาย ด้วยความรักของพระคริสต์ พระเจ้าทั้งสามพระภาคทรงเติมหัวใจที่ว่างเปล่าและเจ็บปวดของเราให้เต็มล้น พระเยซูทรงถูกตรึงบนกางเขนเพื่อเป็นของประทานของพระเจ้าและทรงเป็นผู้รับบาปผิดแทนเราทั้งหลาย ที่เนินเขาคาลวารีนั้นเอง พระเจ้าทรงเสด็จลงมายังจุดต่ำสุดของโลก เพื่อมาแตะต้องสัมผัสเรา ทำให้เราทั้งหลายสามารถก้าวไปสู่จุดสูงสุดเท่าที่เราสามารถก้าวไปถึง เมื่อใดก็ตามที่ไปยังเนินเขาแห่งคาลวารี เราทั้งหลายได้ขึ้นไปสู่ที่สูงสุดเท่าที่จะไปถึง เข้าหาพระเจ้า
At the cross the Trinity made a full revelation of unselfishness. There was our most complete revelation of God. Christ became man to die for the race. He valued selflessness more than self-existence. There Christ became our "righteousness and sanctification and redemption" (1 Cor. 1:30). Whatever value or meaning we have or ever will have comes from His sacrifice on that cross.
ที่ไม้กางเขน ตรีเอกานุภาพได้เปิดเผยความเสียสละอย่างไม่เห็นแก่ตัว เป็นการเปิดเผยพระเจ้าให้เห็นได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด พระคริสต์เสด็จมาเป็นมนุษย์เพื่อตายแทนมวลมนุษย์ พระองค์ทรงยกย่องความเสียสละอย่างไม่เห็นแก่ตัวมากยิ่งกว่าการมีชีวิตอยู่เพื่อตนเอง ณ ที่นั่นเองที่พระคริสต์ทรงเป็น “ผู้ทำให้เราชอบธรรม ทรงเป็นผู้ชำระเราให้บริสุทธิ์ และทรงเป็นผู้ไถ่บาป” (1 โครินธ์ 1:30) ไม่ว่าคุณค่าหรือความหมายใด ๆ ที่เรามีหรืออาจจะมี ล้วนมาจากความเสียสละบนไม้กางเขนของพระองค์ทั้งสิ้น
The only true God is the God of the cross. Christ unveiled to the universe the Godhead's infinite love and saving power; He revealed a triune God who was willing to go through the agony of separation because of unconditional love for a rebel planet.
พระเจ้าแท้องค์เดียวคือพระเจ้าแห่งไม้กางเขน พระคริสต์ได้เปิดม่านที่ปิดอยู่ให้จักรวาลทั้งปวงได้เห็นความรักอันไม่มีสิ้นสุดและฤทธิ์อำนาจแห่งการช่วยให้รอดของพระเจ้าทั้งสามพระภาค พระองค์ทรงเผยให้เห็นตรีเอกานุภาพผู้ทรงยินดีเข้าไปสู่ความทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการถูกแยกออก อันเนื่องมาจากความรักที่ไม่มีเงื่อนไข เพื่อเห็นแก่โลกที่กบฏต่อพระองค์
From this cross God proclaims His loving invitation to us: Be reconciled, "and the peace of God, which transcends all understanding, will guard your hearts and your minds in Christ Jesus" (Phil. 4:7, NIV).
ที่ไม้กางเขนนี้เอง พระเจ้าทรงประกาศเชิญชวนเราทั้งหลายด้วยความรักของพระองค์ ได้กลับคืนดีกันอีกครั้ง “แล้วสันติสุขของพระเจ้าที่เกินความเข้าใจ จะคุ้มครองจิตใจและความคิดของท่านทั้งหลายไว้ในพระเยซูคริสต์” (ฟีลิปปี 4:7)
Note from the translator
[หมายเหตุผู้แปล – สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้แก้ไขพระคัมภีร์ฉบับแปล ค.ศ. 1971 เมื่อปี ค.ศ. 2006 และมีมติให้ใช้พระนาม “ยาห์เวห์” แทนคำว่า “เยโฮวาห์” ซึ่งถือว่าเป็นการแปลตรงตามพระนามในภาษาฮีบรูที่ถูกต้อง นับจากนี้ไปพระนาม “ยาห์เวห์” จะมาแทนแทนที่พระนาม “เยโฮวาห์” หรือ “ยะโฮวา” ในฉบับเดิม]
References
1 Gordon R. Lewis, Decide for Yourself: A Theological Workbook (Downers Grove, IL: Inter Varsity Press, 1978), p. 15
2 They are the cosmological, teleological, ontological, anthropological, and religion arguments. See, e.g., T. H. Jemison, Christian Beliefs (Mountain View, CA: Pacific Press, 1959), p. 72; Richard Rice, The Reign of God (Berrien Springs, MI: Andrews University Press, 1985), pp. 53-56. These arguments do not prove God's existence but show that there is a strong possibility that God exists. Ultimately, however, belief in God's existence is based on faith.
3 Yahweh is "a conjectural transliteration" of the sacred name of God in the Old Testament (Ex. 3:14, 15; 6:3). The original Hebrew contained the four consonants YHWH. In time, out of fear of profaning God's name, the Jews refused to read this name aloud. Instead, wherever YHWH appeared they would read the word Adonai. In the seventh or eighth century A.D., when vowels were added to the Hebrew words, the Masoretes supplied the vowels of Adonai to the con. sonants YHWH. The combination produced the word Jehovah, which is used in the KJV. Other translations prefer the word Yahweh (Jerusalem Bible) or LORD (RSV, NIV, NKJV). (See Siegfried H. Horn, Seventh-day Adventist Bible Dictionary, Don F. Neufeld, ed., rev. ed., [Washington, D. C.: Review and Herald, 1979] pp. 1192, 1193).
4 "Predestination," Seventh-day Adventist Encyclopedia, Don F. Neufeld, ed., rev. ed., (Washington, D. G: Review and Herald, 1976), p. 1144