The Holy Scriptures, Old and New Testaments, are the written Word of God, given by divine inspiration through holy men of God who spoke and wrote as they were moved by the Holy Spirit. In this Word, God has committed to man the knowledge necessary for salvation. The Holy Scriptures are the infallible revelation of His will. They are the standard of character, the test of experience, the authoritative revealer of doctrines, the trustworthy record of God's acts in history.—Fundamental Beliefs, 1

พระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์จากพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ เป็นพระวจนะของพระเจ้าที่เขียนไว้โดยพระเจ้าได้ทรงดลใจแก่มนุษย์ผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ ผู้สั่งสอนและเขียนไว้ด้วยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในพระวจนะนี้ พระเจ้าทรงมอบความรู้ที่จำเป็นเพื่อความรอดพ้นจากบาปแก่มนุษย์ พระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์เป็นการเปิดเผยนำพระทัยของพระองค์ที่ไม่มีผิดพลาด ถ้อยคำเหล่านี้เป็นมาตรฐานเพื่อการปฏิบัติ เป็นสิ่งตรวจสอบการประพฤติ เป็นสิ่งเปิดเผยหลักคำสอนที่ทรงอำนาจและเป็นบันทึกพระราชกิจซึ่งเชื่อถือได้ของพระเจ้าตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา - หลักข้อเชื่อข้อที่ 1


The Doctrine of God
Chapter 1 ( บทที่ 1 )
The Word of God
พระวจนะของพระเจ้า

(1) No book has been so loved, so hated, so revered, so damned as the Bible. People have died for the Bible. Others have killed for it. It has inspired man's greatest, noblest acts, and been blamed for his most damnable and degenerate.

(1) ไม่มีหนังสือเล่มใดที่มีคนรักมากที่สุด เกลียดที่สุด ได้รับการยกย่องมากที่สุด มีคนอยากได้มากที่สุดเท่ากับพระคริสตธรรมคัมภีร์ (ซึ่งต่อไปนี้จะใช้ชื่อ “พระคัมภีร์” – ผู้แปล) มีคนมากมายยอมตายเพื่อพระคัมภีร์ คนอีกมากมายต้องถูกฆ่าตายเพราะพระคัมภีร์ หนังสือเล่มนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่แก่มนุษย์ ทำให้เขาประพฤติดีงามอย่างที่สุด และถูกกล่าวหาเพราะการประพฤติที่เลวทรามต่ำช้า

Wars have raged over the Bible, revolutions have been nurtured in its pages, and kingdoms crumbled through its ideas. People of all viewpoints—from liberation theologians to capitalists, from fascists to Marxists, from dictators to liberators, from pacifists to militarists—search its pages for words with which to justify their deeds.

สงครามเกิดลุกลามขึ้นเพราะพระคัมภีร์ แต่ละหน้าของพระคัมภีร์ได้บำรุงเลี้ยงความคิดจนก่อให้เกิดการปฏิรูป (ศาสนา) อาณาจักรหลายแห่งล่มสลายตามที่พระคัมภีร์ได้กล่าวไว้ ประชาชนจากหลากหลายชันวรรณะต่างมีความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ ทั้งนักการศาสนาสายเสรีนิยมไปจนถึงกลุ่มทุนนิยม ทั้งจากพวกนิยมเผด็จการ (ฟาสซิสม์) ไปจนถึงพวกสังคมนิยม (มาร์กซิสต์) จากพวกนักเผด็จการไปจนถึงนักเสรีนิยม จากพวกนิยมความสงบและพวกนิยมสงคราม คนเหล่านี้ต่างค้นหาถ้อยคำจากพระคัมภีร์เพื่อมาสนับสนุนการกระทำของตนเอง

The Bible's uniqueness does not come from its unparalleled political, cultural, and social influence, but from its source and its subject matter. It is God's revelation of the unique God-man: the Son of God, Jesus Christ—the Saviour of the world.

การที่ไม่มีหนังสืออื่นใดเหมือนพระคัมภีร์ ไม่ได้เกิดมาจากอิทธิพลของการเมือง วัฒนธรรมและสังคมซึ่งไม่มีใดเสมอเหมือน หากแต่เกิดจากแหล่งที่มาของข้อมูลและจากเนื้อหาของพระคัมภีร์เอง หนังสือเล่มเป็นการเปิดเผยของพระเจ้า ให้ได้รู้จักบุรุษผู้เป็น พระเจ้า-มนุษย์ คือ พระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์

(2) Divine Revelation

While throughout history some have questioned God's existence, many have confidently testified that He exists and that He has disclosed Himself. In what ways has God revealed Himself, and how does the Bible function in His revelation?

(2) การเปิดเผยของพระเจ้า

ตลอดเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านมา มีคำถามว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ มีคนจำนวนมากที่ยืนยันด้วยความมั่นใจว่าพระองค์มีจริง และทรงเปิดเผยพระองค์ให้เห็น พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์วิธีไหน และพระคัมภีร์ทำหน้าที่เพื่อเปิดเผยพระเจ้าอย่างไร

(3) General Revelation

The insight into God's character that history, human behavior, conscience, and nature provide is frequently called "general revelation" because it is available to all and appeals to reason. For millions, "The heavens declare the glory of God; and the firmament shows His handiwork" (Ps. 19:1). The sunshine, rain, hills, and streams, all testify of a loving Creator. "For since the creation of the world His invisible attributes are clearly seen, being understood by the things that are made, even His eternal power and Godhead, so that they are without excuse" (Rom. 1:20).

(3) การเปิดเผยทั่วไป

ประวัติศาสตร์ ลักษณะนิสัยของมนุษย์ จิตสำนึกผิดชอบ และสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติล้วนเปิดเผยให้เห็นพระลักษณะของพระเจ้าอย่างลึกซึ้ง บ่อยครั้งเราเรียกการเปิดเผยนี้ว่าเป็น “การเปิดเผยทั่วไป” เพราะเป็นสิ่งที่มีพร้อมให้ทุกคนได้เห็น และเป็นสิ่งชวนให้นึกถึงเหตุผล สำหรับคนนับหลายล้านเชื่อว่า “ฟ้าสวรรค์ประกาศพระสิริของพระเจ้า และภาคพื้นฟ้าสำแดงพระหัตถกิจของพระองค์” (สดุดี 19:1) แสงแดด สายฝน ภูเขา และลำธาร ทั้งหมดนี้เปิดเผยให้เห็นถึงพระผู้สร้างผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรัก “ตั้งแต่เริ่มสร้างโลกมานั้น สภาพของพระเจ้าซึ่งตามนุษย์มองไม่เห็น คือฤทธานุภาพอันถาวรและเทวสภาพของพระองค์ ก็ได้ปรากฏชัดในสรรพสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ฉะนั้นพวกเขาจึงไม่มีข้อแก้ตัวเลย” (โรม 1:20)

(4) Others see evidence of a caring God in the happy relationships and extraordinary love between friends, family members, husband and wife, parents and children. "As one whom his mother comforts, so I will comfort you" (Isa. 66:13). "As a father pities his children, so the Lord pities those who fear Him" (Ps. 103:13).

(4) คนอื่นมองเห็นหลักฐานความเป็นพระเจ้าผู้ทรงดูแลเอาพระทัยใส่ได้จากการมีความสุขจากการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและความรักอันพิเศษสุดจากมิตรสหาย จากสมาชิกในครอบครัว สามีและภรรยา พ่อแม่กับลูก “ดั่งผู้ที่มารดาของตนเล้าโลม เราจะเล้าโลมเจ้าเช่นนั้น และเจ้าจะรับการเล้าโลม” (อิสยาห์ 66:13) “บิดาสงสารบุตรของตนฉันใด พระเจ้าทรงสงสารบรรดาคนที่ยำเกรงพระองค์ฉันนั้น” (สดุดี 103:13)

(5) Yet the same sunshine that testifies of a loving Creator can turn the earth into a parched desert, bringing starvation. The same rain can turn into a rush of water that drowns families; the same lofty hill can crack, crumble—and then crush. And human relationships often involve jealousy, envy, anger, and even hatred that leads to murder.

(5) กระนั้นก็ตาม แสงแดดที่เป็นพยานหลักฐานให้รู้จักพระผู้สร้างผู้ทรงรัก สามารถเปลี่ยนโลกให้กลายเป็นทะเลทรายที่ร้อนระอุ จนนำไปสู่ความอดอยากหิวโหยได้เช่นกัน สายฝนที่หลั่งลงมาก็สามารถกลายเป็นกระแสน้ำรุนแรงทำให้หลายครอบครัวจมน้ำ ภูเขาน้อยใหญ่มีรอยร้าวและถล่มลงมา จากนั้นไหลลงไปก่อเกิดความเสียหาย นอกจากนี้บ่อยครั้งความสัมพันธ์ของมนุษย์เกิดความอิจฉาริษยา ความโกรธแค้นและแม้กระทั่งเกลียดชัง ซึ่งนำไปสู่การฆ่าฟัน

The world around us gives mixed signals, presenting as many questions as it answers. It reveals a conflict between good and evil, but does not explain how the conflict started, who is fighting, why, or who will ultimately win.

โลกรอบๆ ตัวเราให้สัญญาณที่ผสมผเส ก่อให้เกิดคำถามมากมายเหมือนกับคำตอบที่มีอยู่มากมาย แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างความดีและความชั่ว แต่ไม่ได้อธิบายให้ทราบว่าความขัดแย้งนี้เริ่มต้นมาจากไหน ใครต่อสู้กับใคร ทำไมต้องต่อสู้ หรือฝ่ายไหนจะเป็นผู้กำชัยชนะเด็ดขาด

(6) Special Revelation

Sin limits God's self-revelation through creation by obscuring our ability to interpret God's testimony. In love God gave a special revelation of Himself to help us get answers to these questions. Through both the Old and New Testament He disclosed Himself to us in a specific way, leaving no questions about His character of love. At first His revelation came through prophets; then His ultimate revelation, through the person of Jesus Christ (Heb.1:1, 2).

(6) การเปิดเผยจำเพาะ

ความบาปได้จำกัดการเปิดเผยตัวของพระเจ้าให้เราได้เห็นพระองค์ได้จากธรรมชาติ โดยการอำพรางความสามารถของเราไม่สามารถแปลความหมายคำพยานของพระเจ้าได้ พระเจ้าผู้ทรงรักจึงทรงให้เราเข้าใจการเปิดเผยพิเศษนี้เพื่อให้เป็นคำตอบแก่เรา พระเจ้าทรงเปิดออกเพื่อให้เห็นพระองค์ได้ชัดเจนเป็นพิเศษโดยทางพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ จนทำให้เราไม่มีคำถามใด ๆ เกี่ยวกับพระอุปนิสัยแห่งความรักของพระองค์ เบื้องต้น ทรงเปิดเผยผ่านทางผู้เผยพระวจนะ จากนั้นทรงเปิดเผยพระองค์ผ่านทางชีวิตของพระเยซูคริสต์ (ฮีบรู 1:1, 2)

(7) The Bible both contains propositions that declare the truth about God, and reveals Him as a person. Both areas of revelation are necessary: We need to know God through Jesus Christ (John 17:3), as well as "the truth that is in Jesus" (Eph. 4:21, NIV). And by means of the Scriptures God breaks through our mental, moral, and spiritual limitations, communicating His eagerness to save us.

(7) พระองค์ประกอบไปด้วยโจทย์ที่ต้องพิสูจน์ซึ่งสำแดงให้เห็นถึงความจริงเกี่ยวกับพระเจ้า และเปิดเผยพระองค์โดยทางชีวิตของมนุษย์ผู้หนึ่ง การเปิดเผยทั้งสองด้านเป็นสิ่งจำเป็นต้องมี เพราะเราจำเป็นต้องรู้จักพระเจ้าผ่านทางพระเยซูคริสต์ (ยอห์น 17:3) อีกทั้ง “ในความรู้ถึงพระบุตรของพระเจ้า” (เอเฟซัส 4:21) โดยวิธีนี้พระวจนะของพระเจ้าจึงเจาะทะลุเข้าถึงสติปัญญา ศีลธรรม และจิตวิญญาณที่จำกัดของเราได้ เพื่อสื่อสารให้เห็นถึงพระทัยร้อนรนเพื่อช่วยเราทั้งหลายให้รอดพ้นจากบาป

(8) The Focus of the Scriptures

The Bible reveals God and exposes humanity. It exposes our predicament and reveals His solution. It presents us as lost, estranged from God, and reveals Jesus as the one who finds us and brings us back to God.

(8) จุดศูนย์รวมของพระคัมภีร์

พระคัมภีร์เปิดเผยพระเจ้าและตีแผ่มนุษยชาติ ตีแผ่สถานะของเราและเปิดเผยการแก้ไขปัญหาของพระองค์ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์เราหลงหายไป ห่างเหินไปจากพระเจ้า และเปิดเผยให้เห็นว่าพระเยซูทรงเป็นพระองค์ผู้ค้นพบและนำเรากลับไปหาพระเจ้า

(9) Jesus Christ is the focus of Scripture. The Old Testament sets forth the Son of God as the Messiah, the world's Redeemer; the New Testament reveals Him as Jesus Christ, the Saviour. Every page, either through symbol or reality, reveals some phase of His work and character. Jesus' death on the cross is the ultimate revelation of God's character.

(9) พระเยซูคริสต์ทรงเป็นจุดศูนย์รวมของพระคัมภีร์ พระธรรมพันธสัญญาเดิมยกย่องพระบุตรของพระเจ้าว่าเป็นพระเมสสิยาห์ พระผู้ไถ่ของโลก ส่วนพระธรรมพันธสัญญาใหม่ เปิดเผยพระเจ้าในฐานะของพระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด ทุกหน้า ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสัญลักษณ์หรือองค์จริง เปิดเผยให้ให้เห็นบางส่วนของราชกิจและพระลักษณะของพระองค์ ความตายบนไม้กางเขนของพระเยซูเป็นการเปิดเผยพระลักษณะอันสูงสุดของพระเจ้า

(10) The cross makes this ultimate revelation because it brings together two extremes: man's unfathomable evil and God's inexhaustible love. What could give us greater insight into human fallibility? What could better reveal sin? The cross reveals a God who allowed His only Son to be killed. What a sacrifice! What greater revelation of love could He have made? Indeed, the focus of the Bible is Jesus Christ. He is at the center stage of the cosmic drama. Soon His triumph at Calvary will culminate in the elimination of evil. Human beings and God will be reunited.

(10) ไม้กางเขนเป็นสิ่งเปิดเผยอันสูงสุดแห่งพระลักษณะ เพราะนำเอาสองสิ่งสุดขั้วมาให้เห็น คือ ความชั่วร้ายที่หยั่งไม่ถึงของมนุษย์ และความรักอันไม่รู้หมดสิ้นของพระเจ้า มีอะไรทำให้เราหยั่งรู้ถึงการล้มลง (ในบาป) ได้ของมนุษย์ได้มากที่สุดเท่านี้ มีอะไรที่เปิดเผยให้เห็นบาปได้ดีเท่านี้ ไม้กางเขนเปิดเผยให้เห็นว่าพระเจ้า ผู้ยินยอมให้พระบุตรของพระองค์ถูกฆ่า ช่างเป็นความเสียสละอันสูงยิ่งเสียนี่กระไร มีการเปิดเผยอะไรอีกที่ทำให้เห็นความรักของพระเจ้าได้ยิ่งใหญ่กว่านี้ ดังนั้นจุดรวมศูนย์ของพระคัมภีร์จึงอยู่ที่พระเยซูคริสต์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงประทับอยู่ตรงกลางเวที (การต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่ว) แห่งจักรวาล อีกไม่นานนักชัยชนะของพระองค์ที่คาลวารีในการกำจัดความชั่วร้ายจะมาถึงจุดสิ้นสุด มนุษย์และพระเจ้าจะรวมกันอีกครั้ง

(11) The theme of God's love, particularly as seen in Christ's sacrificial death on Calvary—the grandest truth of the universe—is the focus of the Bible. All major Bible truths, therefore, should be studied from this perspective.

(11) หัวข้อเรื่องราวความรักของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งดังที่ปรากฏให้เห็นจากความตายด้วยความเสียสละบนไม้กางเขนของพระคริสต์ เป็นความจริงอันยิ่งใหญ่ที่สุดของจักวาล คือจุดสุดยอดของพระคัมภีร์ เหตุฉะนั้น การศึกษาความจริงสำคัญทั้งหมดของพระคัมภีร์จึงควรศึกษาจากมุมมองของทัศนะเหล่านี้

(12) Authorship of the Scriptures

The Bible's authority for faith and practice rises from its origin. Its writers viewed the Bible as distinct from other literature. They referred to it as "Holy Scriptures" (Rom.1:2), "sacred writings" (2 Tim. 3:15, RSV), and the "oracles of God" (Rom. 3:2; Heb. 5:12).

(12) ผู้ประพันธ์พระคัมภีร์

สิทธิอำนาจแห่งความเชื่อและการประพฤติปฏิบัติเริ่มจากมูลราก ผู้เขียนทั้งหลายได้แสดงให้เห็นว่าพระคัมภีร์เป็นวรรณกรรมที่แตกต่างไปจากวรรณกรรมอื่น ๆ คนทั้งหลายจึงเรียกพระคัมภีร์ว่า “พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์” (โรม 1:2) “พระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์” (2 ทิโมธี 3:15) และ “พระดำรัสของพระเจ้า” (โรม 3:2 ฮีบรู 5:12)

(13) The uniqueness of the Scriptures is based on their origin and source. The Bible writers claimed they did not originate their messages but received them from divine sources. It was through divine revelation that they were able "to see" the truths they passed on (see Isa. 1:1; Amos 1:1; Micah 1:1; Hab. 1:1; Jer. 38:21).

(13) ความพิเศษเฉพาะของพระคัมภีร์อยู่ที่แหล่งที่มา ผู้ให้กำเนิด ผู้เขียนพระคัมภีร์กล่าวว่าพวกเขาได้รับข่าวสารแต่ได้รับมาจากพระเจ้า การเปิดเผยของพระเจ้าทำให้คนเห่านี้สามารถ “เห็น” ความจริงที่ผ่านมายังพวกเขา (ดูอิสยาห์ 1:1 อาโมส 1:1 มีคาห์ 1:1 ฮาบากุก 1:1 เยเรมีย์ 38:21)

(14) These writers pointed to the Holy Spirit as the one who communicated through the prophets to the people (Neh. 9:30; cf. Zech. 7:12). David said, "The Spirit of the Lord spoke by me, and His word was on my tongue" (2 Sam. 23:2). Ezekiel wrote, "the Spirit entered me," "the Spirit of the Lord fell upon me," "the Spirit took me up" (Eze. 2:2; 11:5, 24). And Micah testified, "I am full of power by the Spirit of the Lord" (Micah 3:8).

(14) ผู้เขียนเหล่านี้ชี้ไปที่พระวิญญาณบริสุทธิ์คือผู้สื่อสารผ่านทางผู้เผยพระวจนะทั้งหลายไปยังประชาชน (เนหะมีย์ 9:30 เศคาริยาห์ 7:12) ดาวิดกล่าวว่า “พระวิญญาณของพระเจ้าได้ตรัส พระวจนะของพระองค์อยู่ที่ลิ้นของข้าพเจ้า” (2 ซามูเอล 23:2) เอเสเคียลกล่าวว่า “พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้า” “พระวิญญาณของพระเจ้าลงมาประทับบนข้าพเจ้า” “พระวิญญาณได้ยกข้าพเจ้าขึ้น” (เอเสเคียล 2:2, 11:5, 24) และมีคาห์กล่าวว่า “สำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเต็มด้วยฤทธิ์เดช คือด้วยพระวิญญาณของพระเจ้า” (Micah 3:8)

(15) The New Testament recognized the role of the Holy Spirit in the production of the Old Testament. Jesus said that David was inspired by the Holy Spirit (Mark 12:36). Paul believed that the Holy Spirit spoke "through Isaiah" (Acts 28:25). Peter revealed that the Holy Spirit guided all the prophets, not just a few (1 Peter 1:10, 11; 2 Peter 1:21). At times the writer faded completely into the background, and only the real author—the Holy Spirit—was acknowledged: "The Holy Spirit says. . . " "By this the Holy Spirit indicates. . . " (Heb. 3:7; 9:8, RSV).

(15) พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ยอมรับบทบาทของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในการให้กำเนิดพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม พระเยซูทรงตรัสว่าดาวิดได้รับการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ (มาระโก 12:36) เปาโลเชื่อว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงตรัส “โดยทางอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ” (กิจการ 28:25) เปโตรเปิดเผยว่าสทรงนำบรรดาผู้เผยพระวจนะ ไม่ใช่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น (1 เปโตร 1:10, 11; 2 เปโตร 1:21) ขณะที่ถึงเวลาที่ผู้เขียนถอยฉากไปอยู่ด้านหลังจนหมดสิ้น และผู้เขียนองค์จริง พระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป “ตามที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ตรัสว่า” “พระวิญญาณบริสุทธิ์จึงทรงสำแดง” (ฮีบรู 3:7, 9:8)

(16) The New Testament writers recognized the Holy Spirit as the source of their own messages also. Paul explained, "Now the Spirit expressly says that in latter times some will depart from the faith" (1 Tim. 4:1). John spoke of being "in the Spirit on the Lord's day" (Rev. 1:10). And Jesus commissioned His apostles through the agency of the Holy Spirit (Acts 1:2; cf. Eph. 3:3-5).

(16) ผู้เขียนพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ยอมรับเป็นอย่างดีว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นแหล่งที่มาของข่าวสารของพวกเขา เปาโลอธิบายว่า “พระวิญญาณตรัสอย่างชัดแจ้งว่า ต่อไปภายหน้าจะมีบางคนละทิ้งความเชื่อ” (1 ทิโมธี 4:1) ยอห์นกล่าวว่า “พระวิญญาณทรงดลใจข้าพเจ้าในวันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (วิวรณ์ 1:10) และพระเยซูทรงมีพระบัญชาอัครสาวกของพระองค์โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กิจการ 1:2, เอเฟซัส 3:3-5)

So God, in the person of the Holy Spirit, has revealed Himself through the Holy Scriptures. He wrote them, not with His hands, but with other hands, about forty pairs, over a period of more than 1500 years. And since God the Holy Spirit inspired the writers, God, then, is its author.

ดังนั้น พระเจ้าในพระภาคของพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงเปิดเผยพระองค์โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์ทรงเป็นผู้เขียนพระคัมภีร์ ไม่ใช่ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แต่โดยมือของผู้อื่น ประมาณ 40 คน เป็นระยะเวลานานกว่า 1500 ปี นับจากพระเจ้าโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงดลใจผู้เขียนจำนวนหลายคน จากนั้นพระองค์จึงทรงเป็นผู้ประพันธ์ด้วยพระองค์เอง

(17) Inspiration of the Scriptures

"All Scripture," Paul says, "is given by inspiration of God" (2 Tim. 3:16). The Greek word theopneustos, translated as "inspiration," literally means "God-breathed." God "breathed" truth into men's minds. They, in turn, expressed it in the words found in the Scriptures. Inspiration, therefore, is the process through which God communicates His eternal truth.

(17) การดลใจในการเขียนพระคัมภีร์

เปาโลกล่าวว่า “พระคัมภีร์ ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า” (2 ทิโมธี 3:16) คำนี้ในภาษากรีกคือคำว่า “ตีโอนูสโทส” (theopneustos) แปลว่า “การดลใจ” มีความหมายว่า “พระเจ้าทรงระบายลมปราณ” พระเจ้าทรง “ระบายลมปราณ” ความจริงเข้าสู่ความคิดอ่านของมนุษย์ จากนั้น พวกเขาจึงแสดงออกมาเป็นถ้อยคำดังปรากฏในพระคัมภีร์ ดังนั้น การดลมจก็คือ กระบวนการที่พระเจ้าทรงใช้เพื่อสื่อสารความจริงนิรันดร์ของพระองค์

(18) The Process of Inspiration

Divine revelation was given by inspiration of God to "holy men of God" who were "moved by the Holy Spirit" (2 Peter 1:21). These revelations were embodied in human language with all its limitations and imperfections, yet they remained God's testimony. God inspired men—not words.

(18) กระบวนการในการดลใจ

พระเจ้าทรงเปิดเผยโดยการดลใจบรรดา “มนุษย์ได้กล่าวคำซึ่งมาจากพระเจ้า” คนเหล่านี้ “พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงดลใจเขา” (2 เปโตร 1:21) การเปิดเผยนี้รวมกันปรากฏออกมาเป็นภาษาของมนุษย์ ตามข้อจำกัดทุกอย่างและความไม่สมบูรณ์ทั้งหลาย ถึงกระนั้นก็ตาม พระคัมภีร์ก็ยังเป็นพระคัมภีร์ก็ยังเป็นคำพยานของพระเจ้า พระเจ้าทรงดลใจมนุษย์ ไม่ได้ดลใจตัวหนังสือที่เขียนออกมา

(19) Were the prophets as passive as tape recorders that replay exactly what is recorded? In some instances writers were commanded to express the exact words of God, but in most cases God instructed them to describe to the best of their ability what they saw or heard. In these latter cases, the writers used their own language patterns and style.

(19) ผู้เผยพระวจนะทำตัวเหมือนเครื่องอัดเทป เขียนออกมาเหมือนกับที่ได้บันทึกไว้ใช่หรือไม่ ในบางกรณีผู้เขียนได้รับคำสั่งให้เขียนออกมาถ้อยคำทุกตัวอักษรดังที่พระเจ้าทรงตรัส แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพระเจ้าทรงตรัสสอนให้คนเหล่านั้นบรรยายตามความสามารถ ดังที่ได้เห็นหรือได้ยิน ในหลายกรณีต่อมา ผู้เขียนใช้ภาษา รูปแบบและแนวทางในการเขียนของตนเอง

Paul observed that "the spirits of the prophets are subject to the prophets" (1 Cor.14:32). Genuine inspiration does not obliterate the prophet's individuality, reason, integrity, or personality.

เปาโลสังเกตว่า “วิญญาณของพวกผู้เผยพระวจนะนั้น ย่อมอยู่ในบังคับพวกผู้เผยพระวจนะ” (1 โครินธ์ 14:32) การดลใจที่แท้จริงนั้นไม่ได้ลบล้างความเป็นส่วนตัว เหตุผล ความสัตย์จริง หรือความเป็นตัวของตัวเองของผู้เผยพระวจนะ

(20) To some degree, Moses and Aaron's relationship illustrates that between the Holy Spirit and the writer. God said to Moses, "'I have made you as God to Pharaoh, and Aaron your brother shall be your prophet'" (Ex. 7:1; cf. 4:15, 16). Moses informed Aaron of God's messages, and, in turn, Aaron communicated them in his own vocabulary and style to Pharaoh. Likewise Bible writers conveyed divine commands, thoughts, and ideas, in their own style of language. It is because God communicates in this way that the vocabulary of the different books of the Bible is varied and reflects the education and culture of the writers.

(20) ในบางกรณี โมเสสและอาโรนได้แสดงความผูกพันออกมาเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์และผู้เขียนพระคัมภีร์ พระเจ้าทรงตรัสแก่โมเสสว่า “"ดูซี เราตั้งเจ้าไว้เป็นดังพระเจ้าต่อฟาโรห์ และอาโรนพี่ชายของเจ้าจะเป็นผู้เผยพระวจนะแทนเจ้า” (อพยพ 7:1, 4:15, 16) โมเสสได้แจ้งแก่อาโรน จากนั้นอาโรนได้สื่อสารข่าวนี้ด้วยศัพท์และวิธีการของเขาแก่กษัตริย์ฟาโรห์ เช่นเดียวกับผู้เขียนพระคัมภีร์ท่านอื่น ๆ ที่สื่อสารพระบัญชาของพระเจ้า ความคิดและแนวทางของพระองค์ตามภาษาและวิธีการของเขาเช่นกัน ด้วยเหตุที่พระเจ้าทรงสื่อสารวิธีการนี้ ทำให้ถ้อยคำหรือศัพท์ของพระธรรมแต่ละเล่มของพระคัมภีร์มีความหลากหลายและสะท้อนให้เห็นถึงพื้นฐานการศึกษาและวัฒนธรรมของผู้เขียนด้วย

(21) The Bible "is not God's mode of thought and expression. Men will often say such an expression is not like God. But God has not put Himself in words, in logic, in rhetoric, on trial in the Bible. The writers of the Bible were God's penmen, not His pen." 1 "Inspiration acts not on the man's words or his expressions but on the man himself, who, under the influence of the Holy Ghost, is imbued with thoughts. But the words receive the impress of the individual mind. The divine mind is diffused. The divine mind and will is combined with the human mind and will; thus the utterances of the man are the word of God." 2

(21) พระคัมภีร์ “ไม่ใช่วิธีแสดงออกความคิดและการแสดงความรู้สึกของพระเจ้า มนุษย์มักกล่าวเสมอว่าการแสดงออกนั้นไม่เหมือนกับที่พระเจ้าควรกระทำ ทั้งนี้ก็เพราะพระเจ้าไม่ได้เอาตัวของพระองค์ใส่ไปในถ้อยคำนั้น ในเหตุผล ในถ้อยคำสำนวน เพื่อพิสูจน์พระคัมภีร์ ผู้เขียนพระคัมภีร์เป็นผู้ประพันธ์ ไม่ใช่ปากกาเขียนตามคำสั่ง”1 “การดลใจไม่ใช่การบันดาลดลถ้อยคำของมนุษย์หรือการแสดงออกของเขา แต่การดลใจคือ ดลจิตใจของเขา โดยการชักนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ให้เขาซาบซึ้งในความคิด แต่ถ้อยคำที่ได้รับสร้างความประทับใจให้แก่ผู้เขียนแต่ละคน ซึมซับเอาความคิดอ่านของพระเจ้าไว้ ความคิดตามแนวทางของพระเจ้า ตามน้ำพระทัยของพระองค์รวมกันเข้ากับความคิดอ่านและความมุ่งหมายของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่มนุษย์กล่าวออกมาจึงเป็นพระวจนะของพระเจ้า”2

(22) In one instance we have God speaking and writing the exact words, the Ten Commandments. They are of divine, not human composition (Ex. 20:1-17; 31:18; Deut.10:4, 5), yet even these had to be expressed within the limits of human language. The Bible, then, is divine truth expressed in human language. Imagine trying to teach quantum physics to a baby. This is the type of problem God faces in His attempt to communicate divine truths to sinful, limited humanity. It is our limitations that restrict what He can communicate to us.

(22) ในกรณีหนึ่ง เรามีพระเจ้าตรัสและเขียนถ้อยคำไว้ตามนั้น คือ พระบัญญัติสิบประการ พระบัญญัตินี้เป็นของพระเจ้า เป็นมาจากพระองค์ไม่ได้มาจากการเขียนขึ้นมาของมนุษย์ (อพยพ 20:1-17, 31:18, เฉลยธรรมบัญญัติ 10:4-5) ถึงกระนั้นก็ตาม ยังคงแสดงออกในภาษาอันจำกัดของมนุษย์ ด้วยประการฉะนี้ พระคัมภีร์จึงเป็นความจริงของพระเจ้าที่แสดงออกมาในรูปแบบภาษาของมนุษย์ ลองนึกภาพการพยายามสอนเรื่องปริมาณทางฟิสิกค์ให้แก่เด็กทารก นี่คือรูปแบบปัญหาที่พระเจ้าทรงเผชิญ ในการพยายามสื่อสารความจริงของพระองค์ให้แก่มนุษย์ผู้บาปหนา มีความจำกัดหลายด้าน เพราะความจำกัดของเราต่างหากที่ทำให้พระองค์ไม่สามารถสื่อสารมายังเราได้อย่างเต็มที่

(23) A parallel exists between the incarnate Jesus and the Bible: Jesus was God and man combined, the divine and the human in one. So the Bible is the divine and human combined. As it was said of Christ, so it can be affirmed of the Bible that "the Word became flesh and dwelt among us" (John 1:14). This divine-human combination makes the Bible unique among literature.

(23) ข้อแตกต่างที่กล่าวถึงนี้เกิดขึ้นระหว่างพระเยซูผู้มาเกิดเป็นมนุษย์และพระคัมภีร์ ดังจะกล่าวต่อไปนี้ พระเยซูทรงเป็นทั้งพระเจ้าและเป็นมนุษย์ พระเจ้าและมนุษย์มารวมกันเป็นหนึ่ง ดังนั้นพระคัมภีร์จึงเป็นสิ่งที่มาจากพระเจ้าและมาจากมนุษย์ ดังที่กล่าวถึงพระคริสต์ พระคัมภีร์ต่างก็มีเหตุผลที่เหมือนกัน ตามที่บันทึกไว้ว่า “พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา” (ยอห์น 1:14) การรวมกันระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ ทำให้พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากหนังสืออื่น ๆ

(24) Inspiration and the Writers

The Holy Spirit prepared certain persons to communicate divine truth. The Bible does not explain in detail how He qualified these individuals, but in some way He formed a union between the divine and the human agent. Those who had a part in writing the Bible were not chosen because of natural talents. Nor did divine revelation necessarily convert the person or assure him of eternal life.

(24) การดลใจและผู้เขียน

พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเตรียมบุคคลต่าง ๆ เพื่อรับเอาการสื่อสารความจริงที่มาจากพระเจ้า พระคัมภีร์ไม่ได้อธิบายรายละเอียดว่าพระเจ้าทรงทำอย่างไรให้คนเหล่านี้มีคุณสมบัติพร้อมเพื่อการรับสารนั้น แต่พระองค์ทรงรวมเอาความเป็นพระเจ้าของพระองค์และมนุษย์ผู้เป็นตัวแทนของพระองค์เข้าด้วยกัน บรรดาผู้มีส่วนในการเขียนพระคัมภีร์ ไม่ได้รับการเลือกสรรเพราะความสามารถที่ติดตัวเขามา หรือพระเจ้าทรงเปิดเผยสิ่งจำเป็นเพื่อเปลี่ยนแปลงจิตใจคนนั้น หรือสร้างความมั่นใจว่าเขาจะได้รับชีวิตนิรันดร์

Balaam proclaimed a divine message under inspiration while acting contrary to God's counsels (Numbers 22-24). David, who was used by the Holy Spirit, committed great crimes (cf. Psalm 51). All the writers of the Bible were men with sinful natures, needing God's grace daily (cf. Rom. 3:12).

บาลาอัม เป็นผู้ประกาศข่าวของพระเจ้า ภายใต้การดลใจ ขณะที่เขากลับประพฤติตัวตรงกันข้ามกับคำแนะนำของพระเจ้า (กันดารวิถี บทที่ 22-24) ดาวิดได้รับการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ได้กระทำความผิดเป็นบาปหนาฐานฆ่าคน (สดุดี 51) ผู้เขียนพระคัมภีร์ทั้งหมดล้วนเป็นมนุษย์คนบาปหนาโดยกำเนิด คนเหล่านี้ล้วนต้องการพระคุณเป็นประจำทุกวันเช่นกัน (โรม 3:12)

(25) The inspiration the Biblical writers experienced was more than illumination or divine guidance, for these come to all who seek truth. In fact, the Biblical writers sometimes wrote without fully understanding the divine message they communicated (1 Peter 1:10-12).

25) การได้รับการดลใจที่ผู้เขียนพระคัมภีร์ได้รับนั้นเป็นมากกว่าการได้รับความกระจ่างหรือการทรงนำของพระเจ้า เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นกับบรรดาผู้แสวงหาความจริงด้วยกันทั้งสิ้น ความจริงแล้ว บางครั้งผู้เขียนพระคัมภีร์เขียนหนังสือขึ้นโดยไม่เข้าใจข่าวสารที่เขาสื่อสารซึ่งมาจากพระเจ้าทั้งหมด (1 เปโตร 1:10-12)

(26) The writers' responses to the messages they bore were not uniform. Daniel and John said they were greatly perplexed over their writings (Dan. 8:27; Rev. 5:4), and 1 Peter 1:10 indicates that other writers searched for the meaning of their messages or those of others. Sometimes these individuals feared to proclaim an inspired message, and some even debated with God (Habakkuk 1; Jonah 1:1-3; 4:1-11).

(26) ผู้เขียนพระคัมภีร์ต่างตอบสนองต่อข่าวสารที่เขาได้รับด้วยวิธีการที่ไม่เหมือนกัน ดาเนียลและยอห์นกล่าวว่าพวกเขารู้สึกสับสนในสิ่งที่ตนเองเขียนเป็นอย่างยิ่ง (ดาเนียล 8:27 วิวรณ์ 5:4) และ 1 เปโตร 1:10 ระบุว่าผู้เขียนคนอื่น ๆ ต่างเสาะหาความหมายของข่าวสารที่ตนเองหรือผู้อื่นได้รับ บางครั้งบางคนรู้สึกกลัวที่จะประกาศข่าวที่ได้รับการดลใจ และบางคนโต้แย้งกับพระเจ้าด้วย (ฮาบากุก 1 ยอห์น 1:1-3; 4:1-11)

(27) The Method and Content of Revelation

Frequently the Holy Spirit communicated divine knowledge by means of visions and dreams (Num. 12:6). Sometimes He spoke audibly or to the inner senses. God spoke to Samuel "in his ear" (1 Sam. 9:15). Zechariah received symbolic representations with explanations (Zechariah 4). The visions of heaven that Paul and John received were accompanied by oral instructions (2 Cor. 12:1-4; Revelation 4, 5). Ezekiel observed events transpiring in another location (Ezekiel 8).

(27) วิธีการและเนื้อหาของการเปิดเผย

หลายครั้งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสื่อสารความรู้ของพระเจ้าโดยใช้วิธีให้เห็นนิมิตและความฝัน (กันดารวิถี 12:6) บางครั้งพระองค์ทรงตรัสให้ได้ยินหรือทรงตรัสภายในจิตสำนึก พระเจ้าทรงตรัสแก่ซามูเอล “พระเจ้าทรงสำแดงแก่ซามูเอล” (1 ซามูเอล 9:15) เศคาริยาห์ได้รับสัญลักษณ์เป็นสิ่งแทนพร้อมด้วยคำอธิบาย (เศคาริยาห์ บทที่ 4) นิมิตเกี่ยวกับสวรรค์ที่เปาโลและยอห์นได้รับได้รับการอธิบายควบคู่ไปด้วย (2 โครินธ์ 12:1-4) วิวรณ์บทที่ 4 และ 5) เอเสเคียลสังเกตเหตุการณ์ณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นในสถานที่อื่น ๆ (เอเสเคียล บทที่ 8)

Some writers participated in their visions, performing certain functions as a part of the vision itself (Revelation 10). As to contents, to some the Spirit revealed events yet to occur (Daniel 2, 7, 8, 12). Other writers recorded historical events, either on the basis of personal experience or through selecting materials from existing historical records (Judges, l Samuel, 2 Chronicles, the Gospels, Acts).

ผู้เขียนบางคนเข้าไปมีส่วนร่วมในนิมิตที่ตนเองได้รับด้วย ได้กระทำบางสิ่งบางอย่างในนิมิตด้วยตนเอง (วิวรณ์บทที่ 10) ดังที่ปรากฏในเนื้อหาของนิมิต บางอย่างเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นในสมัยของเขา (ดาเนียล บทที่ 2, 7, 8 และ 12) ผู้เขียนคนอื่น ๆ บันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ทั้งตามความรู้สึกคิดเห็นส่วนตัวหรือโดยการคัดเลือกเอาบางสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาบันทึก (ยูดา 1, 2 พงศาวดาร พระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม พระธรรมกิจการของอัครทูต)

(28) Inspiration and History

The Biblical assertion that "All Scripture is inspired by God" or "God-breathed," profitable and authoritative for moral and spiritual living (2 Tim. 3:15, 16, RSV; NIV) leaves no question about divine guidance in the selection process. Whether the information came from personal observation, oral or written sources, or direct revelation, it all came to the writer through the Holy Spirit's guidance. This guarantees the Bible's trustworthiness.

(28) การดลใจและประวัติศาสตร์

พระคัมภีร์ได้ยืนยันว่า “พระคัมภีร์ ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า” หรือ “พระเจ้าทรงระบายลมปราณ” เพื่อประโยชน์ในการสั่งสอนและเป็นคำสอนที่มีอำนาจเพื่อการมีศีลธรรมและจิตวิญญาณที่มีชีวิต โดยไม่มีข้อกังขาใด ๆ ว่ากระบวนการคัดสรรนี้คือการทรงนำของพระเจ้า ไม่ว่าข้อมูลนั้นมาจากแหล่งใด ทั้งการสังเกตส่วนตัว การกล่าวออกมาหรือการเขียน หรือการเปิดเผยโดยตรง ทั้งหมดมายังผู้เขียนโดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ทั้งสิ้น สักขีพยานนี้ยืนยันว่า พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่เชื่อถือได้อย่างแน่นอน

(29) The Bible reveals God's plan in His dynamic interaction with the human race, not in a collection of abstract doctrines. His self-revelation stands rooted in real events that occurred in a definite time and place. The reliability of the historical accounts is extremely important because they form the framework of our understanding of God's character and His purpose for us. An accurate understanding leads to eternal life, but an incorrect view leads to confusion and death.

(29) พระคัมภีร์เปิดเผยแผนงานของพระเจ้าในการติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ที่มีพลัง ไม่ใช่การรวบรวมหลักข้อเชื่อที่เป็นเพียงนามธรรม การเปิดเผยพระองค์เองยืนยันเป็นรากฐานของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง ในเวลาและสถานที่ที่เจาะจงไว้โดยเฉพาะ ความเชื่อถือได้ของประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะทั้งหมดได้รวมตัวกันเป็นกรอบของความเข้าใจของเราเกี่ยวกับพระลักษณะและพระประสงค์ของพระเจ้าเพื่อเราทั้งหลาย ความเข้าใจที่ถูกต้องจะนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ แต่ความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องนำไปสู่ความสับสนและความตาย

(30) God commanded certain men to write a history of His dealings with Israel. These historical narratives, written from a view-point different from that of secular history, comprise an important part of the Bible (cf. Num. 33:1, 2; Joshua 24:25, 26; Eze. 24:2). They provide us with accurate, objective history, from a divine perspective. The Holy Spirit gave the writers special insights so that they could record events in the controversy between good and evil that demonstrate the character of God and guide people in their quest for salvation.

(30) พระเจ้าทรงให้บางคนเขียนประวัติศาสตร์การดำเนินงานของพระองค์กับคนอิสราเอล การบรรยายประวัติศาสตร์นี้ เขียนตามความคิดเห็นของผู้เขียน แตกต่างไปจากประวัติศาสตร์ของนักประวัติศาสตร์ทั่วไป ซึ่งรวมกันขึ้นเป็นส่วนสำคัญของพระคัมภีร์ (กันดารวิถี 33:1, 2 โยชูวา 24:25, 26 เอเสเคียล 24:2) บันทึกเหล่านี้ได้ทำให้เราเห็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของประวัติศาสตร์ จากแนวทางของพระเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงประทานความหยั่งรู้พิเศษแก่ผู้เขียน เพื่อเขาจะบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในความขัดแย้งระหว่างความดีและความชั่วซึ่งแสดงออกให้เห็นจากพระอุปนิสัยของพระเจ้าและทรงนำประชากรของพระองค์ให้แสวงหาความรอดพ้นจากบาป

(31) The historical incidents are "types" or "examples" "written for our admonition, on whom the ends of the ages have come" (1 Cor. 10:11). Paul says, "For everything that was written in the past was written to teach us, so that through endurance and the encouragement of the Scriptures we might have hope" (Rom.15:4, NIV). The destruction of Sodom and Gomorrah serves as "an example" or warning (2 Peter 2:6; Jude 7). Abraham's experience of justification is an example for every believer (Rom. 4:1-25; James 2:14-22). Even Old Testament civil laws, filled with deep spiritual meaning, are written for our benefit today (1 Cor. 9:8, 9).

(31) เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์เหล่านี้เป็น “แบบ” และเป็น “ตัวอย่าง” “บันทึกไว้เพื่อเตือนสติเราทั้งหลาย ซึ่งกำลังประสบวาระสุดท้ายแห่งบรรดายุคเก่า” (1 โครินธ์ 10:11) เปาโลกล่าวว่า “เพราะว่าสิ่งที่เขียนไว้ในสมัยก่อนนั้น ก็เขียนไว้เพื่อสั่งสอนเรา เพื่อเราจะได้มีความหวังโดยความเพียร และความชูใจด้วยพระคัมภีร์ 5เพราะว่าสิ่งที่เขียนไว้ในสมัยก่อนนั้น ก็เขียนไว้เพื่อสั่งสอนเรา เพื่อเราจะได้มีความหวังโดยความเพียร และความชูใจด้วยพระคัมภีร์” (โรม 15:4) การทำลายเมืองโสโดมและโกโมราห์ เป็น “ตัวอย่าง” หรือการเตือน (2 เปโตร 2:6 ยูดา ข้อ 7) ประสบการณ์ในชีวิตของอับราฮัมที่ได้รับการทำให้เป็นผู้ชอบธรรม เป็นตัวอย่างสำหรับผู้เชื่อทุกคน (โรม 4:1-25 ยากอบ 2:12-22) แม้กระทั้งกฎหมายบ้านเมืองในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมก็เต็มไปด้วยความหมายอันลึกซึ้งด้านจิตวิญญาณ ล้วนแล้วแต่เขียนขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เราในทุกวันนี้ (1 โครินธ์ 9:8, 9)

(32) Luke mentions that he wrote his Gospel because he wanted to give an account of Jesus' life "that you may know the certainty of those things in which you were instructed" (Luke 1:4). John's criterion for selecting which incidents of Jesus' life to include in his Gospel was "that you may believe that Jesus is the Christ, the Son of God, and that believing you may have life in His name" (John 20:31). God led the Bible writers to present history in a way that would guide us to salvation.

(32) ลูกา ได้กล่าวว่าเขาเขียนพระกิตติคุณขึ้นเพราะต้องการให้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู “เพื่อท่านจะได้รู้ความจริงอันเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านั้น ซึ่งมีผู้แจ้งให้ท่านทราบ” (ลูกา 1:4) เกณฑ์การเลือกเรื่องราวในชีวิตของพระเยซูที่เขียนโดยยอห์นซึ่งมีอยู่ในพระธรรมพระกิตติคุณก็เพื่อ “ท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์” (ยอห์น 20:31) พระเจ้าทรงนำบรรดาผู้เขียนพระคัมภีร์ให้นำเอาประวัติศาสตร์มากล่าวถึงตามแนวทางที่จะนำเราทั้งหลายไปสู่ความรอดพ้นจากบาป

(33) The biographies of Biblical personalities provide another evidence of divine inspiration. These accounts carefully delineate both the weaknesses and strengths of their characters. They faithfully depict their sins, as well as successes.

(33) ประวัติบุคคลของพระคัมภีร์ได้ให้หลักฐานเกี่ยวกับการดลใจของพระเจ้า บันทึกเรื่องราวชีวิตของคนเหล่านี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนทั้งความอ่อนแอและความเข้มแข็งของแต่ละคน เขาได้ชี้ให้เห็นถึงความบาปและความสำเร็จในชีวิตอย่างเต็มที่

(34) No cover-up shrouds Noah's lack of self-control or Abraham's deception. The fits of tempers that Moses, Paul, James, and John exhibited are recorded. Bible history exposes the failures of Israel's wisest king, and the frailties of the twelve patriarchs and twelve apostles. Scripture makes no excuses for them, nor does it attempt to minimize their guilt. It portrays them all for what they were and what they became or failed to become by the grace of God. Without divine inspiration no biographer could write such a perceptive analysis.

(34) ไม่มีการปกปิดว่าโนอาห์เป็นคนที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หรือปกปิดว่าอับราฮัมเป็นคนโกหก อารมณ์ร้ายของโมเสส เปาโล ยากอบ และยอห์น ได้เปิดเผยให้เห็นและบันทึกไว้ ประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์ได้ตีแผ่ความล้มเหลวของกษัตริย์ผู้ฉลาดที่สุดของอิสราเอล และความเปราะบางของเผ่าทั้งสิบสองและอัครสาวกสิบสองคน พระคัมภีร์ไม่มีข้อยกเว้นใดสำหรับพวกเขา หรือพยายามลดภาพความผิดของเขา ตรงกันข้าม พระคัมภีร์ได้เผยให้เห็นว่าคนเหล่านั้นเป็นคนประเภทใด เขาได้กลายเป็นคนแบบไหนหรือความล้มเหลวที่ไม่สามารถเป็นไปตามที่พระคุณของพระเจ้าได้ให้โอกาส หากไม่มีการดลใจจากพระเจ้าแล้ว คงไม่มีการเขียนประวัติของบุคคลเหล่านี้ในลักษณะการวิเคราะห์เช่นที่เห็น

(35) The Bible's writers viewed all the historical narratives it contains as true historical records, not as myths or symbols. Many contemporary skeptics reject the stories of Adam and Eve, Jonah, and the Flood. Yet Jesus accepted them as historically accurate and spiritually relevant (Matt. 12:39-41; 19:4-6; 24:37-39). The Bible does not teach partial inspiration or degrees of inspiration. These theories are speculations that rob the Bible of its divine authority.

(35) ผู้เขียนพระคัมภีร์มองเรื่องราวในประวัติศาสตร์ด้วยการบรรยายถึงเนื้อหาว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่นิยายปรัมปราหรือเป็นสัญลักษณ์ มีนักคิดผู้สงสัยปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องของอาดัมและเอวา โยนาห์และน้ำท่วมโลก แต่ฝ่ายพระเยซูทรงยอมรับว่าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นจริงตามนั้นและเป็นการเปิดเผยด้านจิตวิญญาณ (มัทธิว 12:39-41; 19:4-6; 24:37-39) พระคัมภีร์ไม่ได้สอนว่ามีการดลใจบางส่วนหรือการดลใจระดับใดระดับหนึ่ง ทฤษฎีที่ว่านี้เป็นการสร้างข้อความสงสัยที่ดึงเอาความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์ซึ่งมีสิทธิอำนาจที่มาจากพระเจ้า

(36) The Accuracy of the Scriptures

Just as Jesus "became flesh and dwelt among us" (John 1:14), so, in order for us to understand truth, the Bible was given in the language of humanity. The inspiration of the Scriptures guarantees their trustworthiness. How far did God safeguard the transmission of the text beyond assuring that its message is valid and true? It is clear that while the ancient manuscripts vary, the essential truths have been preserved. 3 While it is quite possible that copyists and translators of the Bible made minor mistakes, evidence from Biblical archeology reveals that many alleged errors were really misunderstandings on the part of scholars. Some of these problems arose because people were reading Biblical history and customs through Western eyes. We must admit that humans only know in part—their insight into divine operations remains fragmentary.

(36) ความถูกต้องแม่นยำของพระคัมภีร์

การที่พระเยซู “ได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา” (ยอห์น 1:14) ฉันใดก็ตาม การที่เราจะเข้าใจความจริงได้ พระคัมภีร์จึงประทานให้แก่เราด้วยการเขียนเป็นภาษาของมนุษย์ การได้รับการดลใจของพระคัมภีร์เป็นหลักประกันว่าหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่เชื่อและวางใจได้ พระเจ้าทรงปกป้องการส่งสารของพระองค์ด้วยการทำให้ข่าวสารนั้นเชื่อถือได้และเป็นจริงอย่างไร เป็นที่ขัดเจนแล้วว่าขณะที่ต้นฉบับเดิมของพระคัมภีร์มีหลายฉบับ ทำให้เห็นว่าความจริงที่สำคัญต่าง ๆ ได้รับการรักษาไว้อย่างดี3 ขณะเดียวกันก็เป็นไปได้ว่าผู้คัดลอกและผู้แปลพระคัมภีร์อาจมีความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ หลักฐานจากนักโบราณคดีพระคัมภีร์ได้เปิดเผยให้เห็นความผิดพลาดตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของผู้เชียวชาญพระคัมภีร์ ปัญหาบางอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะประชาชนอ่านประวัติเรื่องราวในพระคัมภีร์ตามแนวคิดในสายตาทางวัฒนธรรมของคนตะวันตก เราจะต้องยอมรรับว่ามนุษย์รู้เพียงบางส่วนของพระคัมภีร์ ความหยั่งรู้ในเรื่องวิธีการดำเนินงานพระเจ้าของเขายังเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น

(37) Perceived discrepancies, then, should not erode confidence in the Scriptures; they often are products of our inaccurate perceptions rather than actual mistakes. Is God on trial when we come across a sentence or text that we cannot fully understand? We may never be able to explain every text in Scripture, but we do not have to. Fulfilled prophecies verify the Scripture's reliability. In spite of attempts to destroy it, the Bible has been preserved with amazing, even miraculous, accuracy. Comparison of the Dead Sea scrolls with later manuscripts of the Old Testament demonstrates the carefulness with which it has been transmitted. 4 They confirm the trustworthiness and reliability of the Scriptures as the infallible revelation of God's will.

(37) ความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันนี้ ไม่ควรทำให้ความเชื่อมั่นในพระคัมภีร์ของเราลดลง ทั้งนี้เพราะความสงสัยเหล่านี้มักเกิดมาจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของเรา มากกว่าความผิดพลาดที่แท้จริง เมื่อใดก็ตามที่เราอ่านประโยคหรือข้อพระธรรมแล้วไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ก็เหมือนกับพระเจ้าทรงถูกทดสอบใช่หรือไม่ เราอาจจะไม่สามารถอธิบายข้อพระธรรมทุกข้อในพระคัมภีร์ได้ ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น คำพยากรณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามที่ได้กล่าวไว้เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าพระคัมภีร์เป็นหนังสือที่เชื่อถือได้ แทนที่ความพยายามทำลายพระคัมภีร์ หนังสือเล่มนี้กลับได้รับการรักษาไว้อย่างดี น่าอัศจรรย์และเที่ยงตรง การเปรียบเทียบพระคัมภีร์ หนังสือม้วนฉบับที่พบในทะเลเดดซี (ทะเลตาย) กับพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมฉบับในสมัยต่อมา ได้แสดงให้เห็นว่ามีการถ่ายทอดพระคัมภีร์และดูแลอย่างดี4 สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ของพระคริสต์ ว่าเป็นสิ่งเปิดเผยน้ำพระทัยของพระเจ้าที่ไม่มีผิดพลาด

(38) The Authority of the Scriptures

The Scriptures have divine authority because in them God speaks through the Holy Spirit. Thus the Bible is the written Word of God. Where is the evidence for this claim and what are the implications for our lives and our pursuit of knowledge?

(38) สิทธิอำนาจของพระคัมภีร์

พระคัมภีร์มีสิทธิอำนาจของพระเจ้าเพราะในหนังสือนี้พระเจ้าทรงตรัสผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้ พระคัมภีร์จึงเป็นพระวจนะของพระเจ้าที่ได้รับการเขียนไว้ หลักฐานการอ้างนี้อยู่ที่ไหน และหลักการต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ในชีวิตประวันและการแสวงหาความรู้ของเราได้อย่างไร

(39) The Claims of the Scriptures. The Bible writers testify that their messages come directly from God. It is "the word of the Lord" that came to Jeremiah, Ezekiel, Hosea, and others (Jer. 1: 1, 2, 9; Eze.1:3; Hosea 1:1; Joel 1:1; Jonah 1:1). As messengers of the Lord (Haggai 1:13; 2 Chron. 36:16), God's prophets were commanded to speak in His name, saying "Thus says the Lord" (Eze. 2:4; cf. Isa. 7:7). His words constitute their divine credentials and authority.

(39) พระคัมภีร์อ้างถึงสิทธินี้เอง ผู้เขียนพระคัมภีร์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าข่าวสารของเขามาจากพระเจ้าโดยตรง เป็น “พระวจนะของพระเจ้า” ที่มีไปยังเยเรมีย์ เอเสเคียล โฮเชยา และคนอื่น ๆ (เยเรมีย์ 1:1, 2, 9 เอเสเคียล 1:3 โฮเชยา 1:1 โยเอล 1:1 โยนาห์ 1:1) ในฐานะผู้นำข่าวของพระเจ้า (ฮักกัย 1:13, 2 พงศาวดาร 36:16) ผู้เผยพระวจนะของพระเจ้าได้รับคำสั่งให้ประกาศโดยพระนามของพระองค์ ว่า “'พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า'“ (เอเศเสเคียล 2:4 อิสยาห์ 7:7) ถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะเหล่านี้ประกอบขึ้นจากความเชื่อถือได้และสิทธิอำนาจของพระเจ้า

(40) At times the human agent God is using recedes into the background. Matthew alludes to the authority behind the Old Testament prophet he quotes with the words, "all this was done that it might be fulfilled which was spoken by the Lord through the prophet" (Matt. 1:22). He sees the Lord as the direct agency, the authority; the prophet is the indirect agency.

(40) ในขณะนั้น และเวลานั้น มนุษย์ผู้แทนของพระเจ้าเหล่านี้ได้ย้อนหลังกลับไปเพื่อใช้เป็นภูมิหลังการเขียนของเขา มัทธิวยกเอาข้อความของผู้เผยพระวจนะในสมัยพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมด้วยการกล่าวว่า “ทั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า ซึ่งตรัสไว้โดยผู้เผยพระวจนะว่าทั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า ซึ่งตรัสไว้โดยผู้เผยพระวจนะ” (มัทธิว 1:22) เขากล่าวว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจ เป็นผู้แทนโดยตรงในการทำหน้าที่นี้ ขณะที่ผู้เผยพระวจนะเป็นผู้แทนโดยอ้อม

(41) Peter classifies Paul's writings as Scripture (2 Peter 3:15, 16). And Paul testifies regarding what he wrote, "I did not receive it from man, nor was I taught it, but it came through a revelation of Jesus Christ" (Gal. 1:12, RSV). New Testament writers accepted the words of Christ as Scripture and regarded them as having the same authority as the Old Testament writings (1 Tim. 5:18; Luke 10:7).

(41) เปโตรจัดให้ข้อเขียนของเปาโลว่าเป็นพระคัมภีร์ (2 เปโตร 3:15-16) และเปาโลยืนยันว่าสิ่งที่เขาเขียนนั้น “ข้าพเจ้าไม่ได้รับข่าวประเสริฐนั้นจากมนุษย์ ไม่มีมนุษย์คนใดสอนข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าได้รับข่าวประเสริฐนั้น โดยพระเยซูคริสต์ทรงสำแดงแก่ข้าพเจ้า” (กาลาเทีย 1:12) ผู้เขียนพระธรรมพันธสัญญาใหม่ยอมรับว่าพระดำรัสของพระคริสต์เป็นพระคัมภีร์ และยอมรับว่าเป็นสิ่งที่มีสิทธิอำนาจเท่าเทียมกับพระธรรมพันธสัญญาเดิมทุกอย่าง (1 ทิโมธี 5:18 ลูกา10:7)

(42) Jesus and the Authority of Scripture

Throughout His ministry, Jesus stressed the authority of the Scriptures. When tempted by Satan or battling His opponents, "It is written" was His defense and offense (Matt. 4:4, 7, 10; Luke 20:17). "'Man shall not live by bread alone, '" He said, "'but by every word that proceeds from the mouth of God'" (Matt. 4:4). When asked how one could enter into eternal life, He answered, "'What is written in the law? What is your reading of it?'" (Luke 10:26).

(42) พระเยซูและสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์

ตลอดเวลาแห่งการรับใช้ของพระเยซู พระองค์ทรงเน้นสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์ เมื่อถูกซาตานทดลองหรือการต่อกรกับพวกที่ต่อต้านพระองค์ พระเยซูทรงปกป้องและตอบกลับด้วยคำว่า “มีพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า” (มัทธิว 4:4, 7, 10 ลูกา 20:17) พระองค์ทรงตรัสว่า “'มนุษย์จะดำรงชีวิตด้วยอาหารเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดำรงชีวิตด้วยพระวจนะทุกคำซึ่งออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า'” (มัทธิว 4:4) เมื่อทรงถูกถามว่าการที่คนหนึ่งจะเข้าสู่ชีวิตนิรันดร์ได้ควรทำอย่างไร พระองค์ทรงตอบว่า “ว่า “ในธรรมบัญญัติเขียนว่าอย่างไร? ท่านอ่านแล้วเข้าใจอย่างไร?” (ลูกา 10:26)

(43) Jesus placed the Bible above human traditions and opinions. He rebuked the Jews for setting aside the authority of the Scriptures (Mark 7:7-9), and appealed to them to study the Scriptures more carefully, saying, "'Haven't you ever read what the Scriptures say?'" (Matt. 21:42, TEV; cf. Mark 12:10, 26).

(43) พระเยซูทรงวางพระคัมภีร์ไว้เหนือขนบธรรมเนียมและความคิดเห็นของมนุษย์ พระองค์ทรงตำหนิพวกยิวที่ละเลยสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์ (มาระโก 7:7-9) และทรงเรียกร้องให้พวกเขาศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจังมากขึ้น โดยทรงกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายยังไม่ได้อ่านในพระคัมภีร์หรือ” (มัทธิว 21:42 มาระโก 12:10, 26)

(44) He strongly believed in the authority of the prophetic word and revealed that it pointed to Himself. The Scriptures, He said, "'testify of Me.'" "'If you believe Moses, you would believe Me; for he wrote about Me'" (John 5:39, 46). Jesus' most convincing assertion that He had a divine mission issued from His fulfillment of Old Testament prophecy (Luke 24:25-27).

(44) พระองค์ทรงเชื่ออย่างเข้มแข็งในสิทธิอำนาจแห่งถ้อยคำของผู้เผยพระวจนะซึ่งชี้ไปที่พระองค์เอง พระเยซูทรงตรัสว่า พระคัมภีร์ “พระคัมภีร์นั้นเองเป็นพยานให้กับเรา” “ถ้าท่านทั้งหลายเชื่อโมเสส ท่านก็น่าจะเชื่อเรา เพราะโมเสสเขียนถึงเรา” (ยอห์น 5:39, 46) พระเยซูทรงเชื่อมั่นอย่างแน่นอนว่าพระองค์ทรงมีภารกิจมาจากพระเจ้า ซึ่งยืนยันว่าคำพยากรณ์ในพันธสัญญาเดิมสำเร็จจริงตามที่กล่าวไว้ (ลูกา4:25-27)

(45) So, without reservation Christ accepted the Holy Scriptures as the authoritative revelation of God's will for the human race. He saw the Scriptures as a body of truth, an objective revelation, given to lead humanity out of the darkness of faulty traditions and myths into the true light of a saving knowledge.

(45) ดังนั้น พระเยซูทรงยอมรับโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ ว่าพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์มีสิทธิอำนาจในการเปิดเผยน้ำพระทัยของพระเจ้าเพื่อมนุษย์ พระองค์ทรงเห็นว่าพระคัมภีร์เป็นร่างกายของความจริง เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่เปิดเผย ประทานให้แก่มนุษย์เพื่อเป็นเครื่องชี้นำเขาออกจากความมืดแห่งธรรมเนียมปฏิบัติและความเชื่อถือที่ไม่ถูกต้อง ไปสู่แสงสว่างแห่งความจริงของความรู้ที่นำไปสู่ความรอด

(46) The Holy Spirit and the Authority of Scripture

During Jesus' life the religious leaders and the careless crowd did not discern His true identity. Some felt He was a prophet like John the Baptist, Elijah, or Jeremiah—merely a man. When Peter confessed that Jesus was "'the Christ, the Son of the living God,'" Jesus pointed out that it was divine illumination that made possible his confession (Matt. 16:13-17). Paul emphasizes this truth: "No one can say that Jesus is Lord except by the Holy Spirit" (1 Cor. 12:3).

(46) พระวิญญาณบริสุทธิ์และสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์

ในช่วงชีวิตของพระเยซูพวกผู้นำศาสนาและฝูงชนที่ไม่ใส่ใจ มองไม่เห็นตัวตนของพระองค์อย่างแท้จริง บางคนคิดว่าพระองค์เป็นผู้เผยพระวจนะเหมือนกับยอห์นผู้ให้รับบบัพติศมา เหมือนเอลียาห์ หรือเยเรมีย์ เหมือนกับคนธรรมดาทั่วไป เมื่อเปโตรยอมรับว่าพระเยซูทรงเป็น “พระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่” พระเยซูทรงชี้ให้เห็นว่าเป็นเพราะพระเจ้าทรงประทานแสงสว่างในใจให้เขากล่าวยอมรับออกมาอย่างนั้น (มัทธิว 16:13-17) เปาโลเน้นความจริงในข้อนี้ว่า “ไม่มีใครสามารถพูดว่า “พระเยซูเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า” นอกจากจะพูดโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์” (1 โครินธ์ 12:3)

(47) So it is with the written Word of God. Without the Holy Spirit's illumination of our minds we could never correctly understand the Bible, or even acknowledge it as God's authoritative will.5 Because "no one knows the things of God except the Spirit of God" (1 Cor. 2:11) it follows that "the natural man does not receive the things of the Spirit of God, for they are foolishness to him; nor can he know them, because they are spiritually discerned" (1 Cor. 2:14). Consequently "the message of the cross is foolishness to those who are perishing" (1 Cor. 1:18).

(47) เช่นเดียวกับพระวจนะของพระเจ้าที่เขียนไว้ หากไม่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงประทานความสว่างแก่จิตใจของเรา ก็จะไม่สามารถเข้าใจพระคัมภีร์ได้อย่างถูกต้อง หรือแม้แต่จะเข้าใจว่านี่คือสิทธิอำนาจแห่งน้ำพระทัยของพระองค์ ทั้งนี้เพราะ “พระดำริของพระเจ้าก็ไม่มีใครหยั่งรู้ได้ เว้นแต่พระวิญญาณของพระเจ้า” (1 โครินธ์ 2:11) ตามมาด้วย “แต่คนทั่วไปจะไม่รับสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นของพระวิญญาณแห่งพระเจ้า เพราะว่าเขาเห็นว่าเป็นเรื่องโง่ และเขาไม่สามารถเข้าใจ เพราะจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ก็ต้องวินิจฉัยโดยพึ่งพระวิญญาณ” (1 โครินธ์ 2:14) ผลที่ตามมาก็คือ “คนทั้งหลายที่กำลังจะพินาศก็เห็นว่าเรื่องกางเขนเป็นเรื่องโง่” (1 โครินธ์ 1:18)

(48) Only with the aid of the Holy Spirit, who searches "the deep things of God" (1 Cor. 2:10), can one become convicted of the authority of the Bible as a revelation of God and His will. It is then that the cross becomes "the power of God" (1 Cor.1:18) and one can join Paul's testimony, "Now we have received, not the spirit of the world, but the Spirit who is from God, that we might know the things that have been freely given to us by God" (1 Cor. 2:12).

(48) นอกจากการช่วยเหลือของพระวิญญาณบริสุทธิ์เท่านั้นจะทำให้ผู้แสวงหา “ความล้ำลึกของพระเจ้า” (1 โครินธ์ 2:10) เท่านั้นจึงจะทำให้เขายอมรับสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์ ว่าเป็นการเปิดเผยและน้ำพระทัยของพระเจ้า เมื่อยอมรับเช่นนี้แล้วเท่านั้นจึงจะทำให้ไม้กางเขนเป็น “ฤทธานุภาพของพระเจ้า" (1 โครินธ์ 1:18) และจะสามารถร่วมเป็นพยานกับเปาโลว่า “เราไม่ได้รับวิญญาณของโลก แต่ได้รับพระวิญญาณซึ่งมาจากพระเจ้า เพื่อจะได้รู้ถึงสิ่งต่างๆที่พระเจ้าประทานแก่เรา” (1 โครินธ์ 2:12)

(49) The Holy Scriptures and the Holy Spirit can never be separated. The Holy Spirit is both the author and revealer of Biblical truth.The Scriptures' authority in our lives increases or decreases in accord with our concept of inspiration. If we perceive the Bible as being merely a collection of human testimonies or if the authority we grant it in some way depends on how it moves our feelings or emotions, we sap its authority in our lives. But when we discern God's voice speaking through the writers, no matter how weak and human they may have been, the Scriptures become the absolute authority in matters of doctrine, reproof, correction and instruction in righteousness (2 Tim. 3:16).

(49) พระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์และพระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นทั้งผู้เขียนและผู้เปิดเผยความจริงของพระคัมภีร์ การที่พระคัมภีร์จะมีสิทธิอำนาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงในชีวิตของเรานั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจยอมรับหลักการของการดลใจ ถ้าเราคาดเดาว่าพระคัมภีร์เป็นเพียงหนังสือที่รวบรวมเอาคำพยานของมนุษย์เขียนไว้ หรือถ้าคิดว่าสิทธิอำนาจที่เราได้มานั้นบางส่วนขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นทำให้อารมณ์ความรู้สึกของเรา ก็เท่ากับว่าได้บ่อนเซาะสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์ในชีวิตของเราไปเสียแล้ว แต่เมื่อเรามองเห็นและยอมรับพระสุรเสียงของพระเจ้าที่ตรัสผ่านผู้เขียน ไม่ว่าความเป็นมนุษย์จะมีความอ่อนแอมากเพียงใดก็ตาม พระคัมภีร์จะกลายมาเป็นสิ่งที่มีสิทธิอำนาจสูงสุด เป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การแก้ไขสิ่งผิด และการอบรมในความชอบธรรม ( 2 ทิโมธี 3:16)

(50) The Scope of Scriptural Authority

Contradictions between Scripture and science are frequently the result of speculation. When we cannot harmonize science with Scripture, it is because we have "an imperfect comprehension of either science or revelation . . . but rightly understood, they are in perfect harmony."6

(50) ขอบเขตสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์

ความแตกต่างระหว่างพระคัมภีร์และวิทยาศาสตร์มักส่งผลให้เกิดการคาดเดาตามมา เมื่อเราไม่สามารถทำให้พระคัมภีร์สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ก็เพราะเรามี “ความหยั่งรู้ที่ไม่สมบูรณ์ทั้งด้านวิทยาศาสตร์หรือการเปิดเผย (พระคัมภีร์)...แต่ความเข้าใจที่ถูกต้องนำไปสู่ความกลมกลืนที่สมบูรณ์”6

(51) All human wisdom must be subject to the authority of Scripture. The Bible truths are the norm by which all other ideas must be tested. Judging the Word of God by finite human standards is like trying to measure the stars with a yardstick. The Bible must not be subjected to human norms. It is superior to all human wisdom and literature. Rather than our judging the Bible, all will be judged by it, for it is the standard of character and test of all experience and thought.

(51) ปัญญาทั้งหมดของมนุษย์จะต้องนำมาอยู่ใต้บังคับของสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์ พระคัมภีร์เป็นบรรทัดฐาน ความคิดเห็นต่าง ๆ จะต้องได้รับการทดสอบโดยความจริงของพระคัมภีร์ ทุกคนจะถูกพิพากษาโดยพระคัมภีร์ เพราะนี่คือมาตรฐานของลักษณะนิสัยและเป็นสิ่งทดสอบการประพฤติปฏิบัติและความคิดของทุกคน

(52) Finally, the Scriptures retain authority even over the gifts that come from the Holy Spirit, including guidance through the gift of prophecy or speaking in tongues (1 Corinthians 12; 14:1; Eph. 4:7-16). The gifts of the Spirit do not supersede the Bible; indeed, they must be tested by the Bible, and if not in accord with it, they must be discarded as not genuine. "To the law and to the testimony! If they do not speak according to this word, it is because there is no light in them" (Isa. 8:20). (See chapter 17 of this book.)

(52) สุดท้ายแล้ว พระคัมภีร์ยังคงไว้ซึ่งสิทธิอำนาจ เหนือของประทานต่าง ๆ ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ รวมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ จากของประทานในการเผยพระวจนะ หรือการพูดภาษาแปลกๆ (1 โครินธ์ บทที่ 12; 1 โครินธ์ 14:1 เอเฟซัส 4:7-16) ของประทานแห่งพระวิญญาณไม่มีอำนาจเหนือพระคัมภีร์ แท้ที่จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการทดสอบจากพระคัมภีร์ และหากไม่เป็นไปตามนั้น ก็จะต้องถือว่าไม่ใช่ของประทานแท้ “ไปค้นพระโอวาทและถ้อยคำพยาน ดูเถิด แน่นอนทีเดียวคนที่ไปพูดเช่นนี้ก็เป็นคนที่ไม่มีรุ่งอรุณเสียเลย” (อิสยาห์ 8:20) (อ่านบทที่ 17 ของหนังสือเล่มนี้)

(53) The Unity of the Scriptures

A superficial reading of the Scriptures will yield a superficial understanding of it. Read in such a way, the Bible may appear to be a jumble of stories, sermons, and history. Yet, those open to the illumination of the Spirit of God, those willing to search for the hidden truths with patience and much prayer, discover that the Bible evidences an underlying unity in what it teaches about the principles of salvation. The Bible is not monotonously uniform. Rather, it comprises a rich and colorful diversity of harmonious testimonies of rare and distinct beauty. And because of its variety of perspectives it is better able to meet human needs through all times.

(53) ความเป็นเอกภาพของพระคัมภีร์

การอ่านพระคัมภีร์อย่างผิวเผินย่อมนำไปสู่ความเข้าใจอย่างผิวเผิน การอ่านแบบนี้ย่อมทำให้ดูเหมือนว่าพระคัมภีร์เป็นเพียงหนังสือนิยายเรื่องราวต่าง ๆ คำเทศนาและประวัติศาสตร์ที่ดูสับสนยุ่งยากเท่านั้นเอง ส่วนผู้ที่เปิดอ่านด้วยความสว่างของพระวิญญาณแห่งพระเจ้า บรรดาผู้ยินดีแสวงหาความจริงที่ซ่อนไว้ด้วยความอดทนและด้วยการอธิษฐานอย่างมากมาย จะค้นพบหลักฐานต่างๆ ของพระคัมภีร์ซึ่งสอนเกี่ยวกับหลักการต่าง ๆ เพื่อความรอดของมนุษย์ที่มีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระคัมภีร์ไม่ใช่หนังสือที่มีรูปแบบเดียวที่อ่านแล้วน่าเบื่อ แต่เป็นหนังสือประกอบกันขึ้นจากคำพยานที่หาได้ยาก มีความงามเฉพาะ อุดมไปด้วยสีสันที่หลากหลาย และเพราะแง่มุมอันมากมายนี้เองจึงทำให้พระคัมภีร์สมารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ตลอดทุกยุคทุกสมัย

(54) God has not revealed Himself to humanity in a continuous chain of unbroken utterances, but little by little, through successive generations. Whether penned by Moses in a Midian field, or Paul in a Roman prison, its books reveal the same Spirit—inspired communication. An understanding of this "progressive revelation" contributes to an understanding of the Bible and its unity.

(54) พระเจ้ามิได้เปิดเผยพระองค์เองเพื่อมนุษย์ได้ยินอย่างต่อเนื่องเหมือนสายโซ่ที่ไม่มีขาดตอน แต่ทรงประทานให้ทีละเล็กละน้อย ผ่านคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจากปากกาของโมเสสในท้องทุ่งแห่งมีเดียน หรือเปาโลในเรือนจำแห่งกรุงโรม พระธรรมต่าง ๆ เหล่านี้เปิดเผยการสื่อสารที่ได้รับการดลใจโดยพระวิญญาณเหมือนกัน ความเข้าใจเช่นนี้ เป็น “การเปิดเผยที่ก้าวหน้า” ส่งผลดีแก่ความเข้าใจพระคัมภีร์และความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระธรรมเล่มนี้

(55) Though written generations apart, the truths of the Old and New Testaments remain inseparable; they do not contradict each other. The two testaments are one, as God is one. The Old Testament, through prophecies and symbols, reveals the gospel of the Saviour to come; the New Testament, through the life of Jesus, reveals the Saviour who came—the gospel in reality. Both reveal the same God. The Old Testament serves as foundation for the New. It provides the key to unlock the New while the New explains the mysteries of the Old.

God graciously calls us to become acquainted with Him by searching His Word. In it we can find the rich blessing of the assurance of our salvation. We can discover for ourselves that the Scriptures are "profitable for doctrine, for reproof, for correction, for instruction in righteousness." Through them we "may be complete, thoroughly equipped for every good work" (2 Tim. 3:16, 17).

(55) แม้ว่าพระคัมภีร์เขียนขึ้นจากคนหลายชั่วอายุที่ห่างกันมากมายเพียงใดก็ตาม ความจริงในำพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่กลับไม่สามารถแยกออกจากกันได้ พระธรรมแต่ละเล่มไม่มีความขัดแย้งกัน พันธสัญญาทั้งสองส่วนนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหมือนพระเจ้าทรงเป็นองค์หนึ่งเดียว (พระคัมภีร์) พันธสัญญาเดิมเปิดเผยให้เห็นถึงข่าวประเสริฐเกี่ยวกับการเสด็จมาของพระผู้ช่วยให้รอดจากคำพยากรณ์และเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ส่วนพันธสัญญาใหม่แสดงให้เห็นว่าข่าวประเสริฐนั้นเป็นจริงในชีวิตของพระเยซู เผยให้เห็นถึงพระผู้ช่วยให้รอดผู้ได้เสด็จมา ว่าข่าวประเสริฐนั้นได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ทั้งสองพันธสัญญาได้เปิดเผยให้เห็นพระเจ้าองค์เดียวกัน พันธสัญญาเดิมทำหน้าที่เป็นรากฐานของพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมให้กุญแจไขพันธสัญญาใหม่ ขณะที่พันธสัญญาใหม่อธิบายความลึกลับของพันธสัญญาเดิม พระเจ้าทรงมีพระเมตตากรุณาเรียกให้เราทั้งหลายได้เข้ามารู้จักพระองค์อย่างดี โดยการค้นหาจากพระวจนะของพระองค์ ในหนังสือเล่มนี้เราสามารถค้นพบพระพรแห่งหลักประกันของความรอดจากบาป อันมหาศาล เราสามารถค้นพบได้ด้วย นเองว่าพระคัมภีร์ “เป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การแก้ไขสิ่งผิด และการอบรมในความชอบธรรม เพื่อคนของพระเจ้าจะมีความสามารถและพรักพร้อมเพื่อการดีทุกอย่าง” (2 ทิโมธี 3:16, 17)

References

หนังสืออ้างอิง

1 Ellen G. White, Selected Messages, (Washington, D. C.: Review and Herald, 1958), book 1, p. 21. 2.

2 Ibid.

3 For a reason for some variant readings, see White, Early Writings (Washington, D. C.: Review and Herald, 1945), pp. 220, 221.

4 See Siegfried H. Horn, The Spade Confirms the Book, rev. ed., (Washington, D. C.: Review and Herald, 1980)

5 For the general Seventh-day Adventist understanding of Biblical interpretation, see General Conference Committee, Report of the General Conference Committee Annual Council, Oct. 12, 1986, "Methods of Bible Study," Distributed by the Biblical Research Institute, General Conference of Seventh-day Adventists, 6840 Eastern Ave., N. W., Washington, D. C. 20012. See also A Symposium on Biblical Hermeneutics, ed. G. M. Hyde (Washington, D. C.: Review and Herald, 1974); Gerhard F. Hasel, Understanding the Living Word of God (Mountain View, CA: Pacific Press, 1980). Cf. P. Gerard Damsteegt, "Interpreting the Bible" (Paper prepared for the Far Eastern Division Biblical Research Committee Meeting, Singapore, May 1986).

6 White, The Story of Patriarchs and Prophets (Mountain View, CA: Pacific Press, 1958), p.114.